เชื่อว่าหลายคนคงเคยมีอาการ “ปวดคอ” กันมาแล้ว ยิ่งคนทำงานออฟฟิศที่มักปวดคอกันเป็นประจำ แต่ในยุคสมัยที่ทุกคนก้มเล่นมือถือทุกวัน วันละหลายชั่วโมงอาการปวดคอเจอได้บ่อยขึ้นและใกล้ตัวขึ้น จนคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งอาการปวดคอ อาจเกิดจากการเกร็งตัว หรืออักเสบของกล้ามเนื้อและเอ็น ซึ่งมักไม่มีอันตรายรุนแรง แต่อย่าพึ่งนิ่งนอนใจไป เพราะถ้ามีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดบริเวณคอร้าวลงไปถึงแขน, ปวดรุนแรงจนขยับคอไม่ได้ มีอาการชาหรืออ่อนแรงที่มือและแขน อาการเหล่านี้อาจเกิดจาก “กระดูกคอเสื่อม”
ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดภาวะกระดูกคอเสื่อมมีดังนี้
- อายุที่มากขึ้น โดยทั่วไปจะเริ่มพบความเสื่อมตั้งแต่อายุ 40-45 ปีขึ้นไป แต่หากมีการทำงานหนักเป็นประจำความเสื่อมอาจเร็วขึ้นได้
- ท่าทางที่ไม่เหมาะสม: การก้มศีรษะมองหน้าจอมือถือในท่าทางที่ไม่เหมาะสมผิดธรรมชาติทำให้เกิดแรงกดบริเวณกระดูกคอและหมอนรองกระดูก มากกว่าปกติ นำไปสู่การอักเสบตามมาด้วยภาวะหมอนรองกระดูกคอเสื่อม และอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายระยะยาวต่อกระดูกสันหลัง
- การออกแรงของกล้ามเนื้อคอ: น้ำหนักของศีรษะที่ก้มลงทำให้กล้ามเนื้อคอรับน้ำหนักมากขึ้น ยิ่งก้มมากก็ยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อกระดูกสันหลัง ส่งผลให้เกิดปัญหาเช่น คอแข็ง ปวดคอ และปวดบ่า
- การก้มมองมือถือเป็นเวลานาน: เมื่อมีพฤติกรรมนี้ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน อาจนำไปสู่ภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อม กระดูกคอเสื่อม หรือแม้แต่เส้นประสาทถูกกดทับ
ข้อแนะนำในการป้องกัน:
- ควรพักสายตาทุก ๆ 20 นาที
- ปรับท่าทางการใช้งานโทรศัพท์มือถือให้อยู่ในระดับสายตา หากมีความจำเป็นต้องใช้มือถือเป็นเวลานานๆ
- หมั่นออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอและหลัง
ดังนั้น หากเราสามารถลดพฤติกรรมก้มเล่นมือถือนาน ๆ ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกระดูกคอเสื่อมลงได้
สำหรับผู้ที่มีอาการปวดคอ แล้วไม่มั่นใจว่าอาการเหล่านี้จะเป็นอันตรายหรือไม่ หรือเกิดจากกระดูกคอเสื่อมหรือไม่ ผมแนะนำให้ลองปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และจะได้วางแผนในการรักษาที่ตรงประเด็นกับอาการของแต่ละคน
บทความโดย นายแพทย์ ศรัณย์ ถวัลยวิชจิต แพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกคอ และ กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
แพ็กเกจแนะนำ
Promotion ตรวจมะเร็งเต้านม ด้วย Digital Mammogram
แพ็กเกจวัคซีนป้องกันไวรัส RSV สำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
กิจกรรมคลอดคุณแม่คุณภาพ ประจำปี 2567
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพประจำปี 2567
แพ็กเกจ ตรวจหัวใจ คนไทยและต่างชาติ
บริการทันตกรรมสิทธิ์ประกันสังคม (ไม่ต้องสำรองจ่าย)
แพ็กเกจ ตรวจการนอนกรน Sleep Test
แพ็กเกจ ตรวจ อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง Abdomen Ultrasound
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพ Birthday Privileges
แพ็กเกจตรวจ Covid-19 และไข้หวัดใหญ่ แบบ RT-PCR
แพ็กเกจ ฝากครรภ์คุณภาพ
แพ็กเกจ โปรแกรม ฝังเข็ม ระงับปวด Office Syndrome
แพ็กเกจ ตรวจฟัน เคลือบฟลูออไรด์ สำหรับเด็ก
แพ็กเกจ ฉีดสีท่อนำไข่ Hysterosalpingography
แพ็กเกจ IUI ฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูก
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร
แพ็กเกจ ตรวจไข้เลือดออก
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
แพ็กเกจ ตรวจมะเร็งเต้านม ด้วย Digital Mammogram
แพ็กเกจ โปรแกรมฝากไข่ Oocyte Freezing
บทความสุขภาพอื่นๆ
9 โรค พบบ่อยในผู้สูงอายุ ที่ควรรู้ เพื่อป้องกันไว้ก่อนดีกว่าแก้
“ก้มเล่นมือถือ” เป็นเวลานาน พฤติกรรมเสี่ยงกระดูกคอเสื่อม
โรคไข้หวัดใหญ่คืออะไร?
การสวนหัวใจและหลอดเลือด
คลอดธรรมชาติ กับ ผ่าคลอด แบบไหนดีกว่ากัน ?
การตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery calcium scoring) คืออะไร ?
มวลกระดูกคืออะไร ทำไมต้องตรวจ ?
โรคฝีดาษลิง หรือ Mpox โรคอุบัติใหม่ที่ไม่ควรมองข้าม
ตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีสำคัญอย่างไร
พฤติกรรมแบบไหน…เสี่ยง! เป็นโรคตับ
“โรคอ้วนในเด็ก” ความน่ารักที่แฝงด้วยอันตราย‼
มะเร็งปอดใกล้ตัวกว่าที่คิด มาทำความรู้จักกับโรคมะเร็งปอด
ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ ป้องกันได้มากว่าปอดอักเสบ
การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องข้อเข่า เทคโนโลยีทันสมัย (Arthroscopic Surgery)
แนวทางการรักษาโรคมะเร็งเต้านมในปัจจุบัน
กระดูกสันหลังเสื่อมทรุด ส่งผลร้ายต่อกันดำเนินชีวิต
ตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีสำคัญอย่างไร
ท้องตอนอายุมาก เสี่ยงอย่างไร
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ ป้องกันได้มากกว่าปอดอักเสบ (Pneumococcal vaccine)
VDO ความรู้สุขภาพ
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.19 อาการปวดหัวช่วงตั้งครรภ์…แก้อย่างไรดี?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.18 ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้มั้ย?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.17 ลูกในครรภ์น้ำหนักตกเกณฑ์ กังวลมากเลย
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.16 คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องผูกมาก แก้ยังไงดี?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.15 ใครเสี่ยงบ้าง? ภาวะครรภ์เป็นพิษขณะตั้งครรภ์
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.14 ฟิต&เฟิร์ม สไตล์คุณแม่มือใหม่
คำแนะนำสำหรับการให้นมแม่ในทารกที่ได้รับการวินิจฉัย “แพ้” นมวัว
การผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่า ข้อไหล่ ดีอย่างไร?
การตรวจวิเคราะห์แรงกดใต้ฝ่าเท้า คืออะไร?
ดูแลลูกอย่างไร? เมื่อเป็นไข้หวัดหน้าร้อน
ฉีดสีท่อนำไข่ แก้ปัญหามีบุตรยาก มีขั้นตอนและการเตรียมตัวอย่างไร?
กระดูกสันหลังเสื่อม-ทรุด ส่งผลร้ายต่อการดำเนินชีวิต
งูสวัด ลดความรุนแรงและโอกาสเกิดซ้ำได้ ด้วยการฉีดวัคซีน
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.13 ไอโอดีน สำคัญกับหญิงตั้งครรภ์อย่างไร?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.12 เครื่องฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ จำเป็นไหม?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.11 วัคซีนก่อนตั้งครรภ์สำคัญไม่น้อย
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.10 ตั้งใจมีลูกแฝด ดีหรือไม่?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.9 ทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์ถึงชอบท้องผูก
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.8 ท้องแข็งแบบต่างๆแยกแบบใด แบบไหนลูกโก่งตัว แบบไหนมดลูกบีบ แบบไหนใกล้คลอด
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.7 คนท้องนอนท่าไหน ไม่ทับลูกไม่ปวดเอว
บทความโดย
นายแพทย์ ศรัณย์ ถวัลยวิชจิต
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกคอ และ กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
แผนกกระดูกและข้อ ชั้น 1
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
โทร.02-594-0020 ต่อ 1190 , 1191