คำแนะนำรายโรค

คำแนะนำรายโรค

ยินดีต้อนรับสู่โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
เรามุ่งมั่นในการบริการด้านสุขภาพ ด้วยคุณภาพสูงสุด

โดยเชื่อมั่นว่า การผสมผสานความชำนาญของคณาจารย์แพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์จะช่วยส่งมอบสุขภาพ และความสุขให้แก่ผู้ป่วย และผู้ใช้บริการได้อย่าง
ครบครัน ทางโรงพยาบาลเกษมราษฎร์อินเตอร์เนชั่นเเนล รัตนาธิเบศร์ หวังเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน เป็นที่ได้ร่วมแสดงศักยภาพ และพัฒนาทักษะร่วมกับทีมงานมืออาชีพ

แชร์   

1. ปรึกษาทันตแพทย์เพื่อวางแผนการจัดฟัน โดนทันตแพทย์จะให้คำแนะนำอธิบายข้อควรปฏิบัติการดูแลรักษา รวมถึงพูดคุยรายละเอียดของค่าใช้จ่ายทั้งหมด

2. ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์แบบจำลองฟันและเอ็กซเรย์ฟันเพื่อดูการสบฟัน โครงสร้างของฟัน และขากรรไกรของเรา 

3. ทันตแพทย์จะทำการเคลียร์ช่องปากก่อนติดเครื่องมือจัดฟัน เช่นการขูดหิน

4.ทันตแพทย์จะทำการติดเครื่องมือจัดฟันให้ และนัดหมายให้มาพบกับทันตแพทย์ทุกเดือนเพื่อปรับลวดจัดฟัน 

5. หมั่นดูแลรักษา และแปรงฟันให้สะอาดและขูดหินปูนเป็นประจำทุก 6 เดือน

6. หลังจากถอดเครื่องมือ ทันตแพทย์จะให้ใส่รีเทนเนอร์เพื่อคงสภาพฟันของเราหลังจากจัดฟัน

  • หลังการรักษารากฟัน

อาจมีอาการปวดฟันใน 1-7 วันแรก กรณีมีอาการปวดหรือบวม สามารถทานยาแก้ปวดช่วยให้อาการทุเลาลงได้

แต่หากปวดฟันมากผิดปกติ ให้รีบมาพบทันตแพทย์ที่ทำการรักษาเร็วที่สุด

  • หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหรือกัดอาหาร

เคี้ยวอาหารอย่างระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการเคี้ยว หรือ กัดอาหารด้วยฟันซี่ที่รักษารากฟัน เพื่อลดโอกาสเกิดฟันแตกร้าวระหว่างที่ยังรักษาไม่เสร็จ

  • วัสดุอุดชั่วคราว

ฟันที่รักษารากจะมีวัสดุอุดชั่วคราวสีขาวอยู่ ถ้าหากหลุดให้รีบกลับมาพบทันตแพทย์เร็วที่สุด

  • ทำความสะอาดฟัน

แปรงฟันและใช้ไหนขัดฟันตามปกติ

  • พบทันตแพทย์ตามนัด

มาทำการรักษาตามที่ทันตแพทย์นัดทุกครั้ง (ในกรณีที่ต้องรักษารากฟันหลายครั้ง)

  1. ฟลูออไรด์เจล งดน้ำและอาหารเป็นเวลา 30 นาที
  2. ฟลูออไรด์วานิช
  • งดน้ำและอาหาร 30 นาที หลังการเคลือบฟลูออไรด์วานิช
  • งดรับประทานอาหารแข็งหรืออาหารที่ต้องเคี้ยวเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที แต่สามารถรับประทานอาหารอ่อน
  • และน้ำได้
  • งดการแปรงฟันและงดใช่ไหมขัดฟันในวันที่ทาฟลูออไรด์วานิช ทั้งก่อนนอนและระหว่างวันเพื่อให้ฟลูออไรด์วานิช

ได้ทำงานอย่างเต็มที่ โดยสามารถแปรงฟันได้ปกติ ในวันถัดไป

  • หากพบว่ามีคราบสีขาวติดที่ฟัน ไม่ต้องแปรงออกโดยคราบสีขาวจะหายไปเองใน 2-3 วัน
  • หากพบว่ามีการระคายเคืองหรือการแพ้ ให้บ้วนปากด้วยน้ำสะอาดมากๆ แต่หากยังไม่ดีขึ้นให้ไปพบทันตแพทย์
  • หลังถอนฟันน้ำนม ไห้กัดผ้าก๊อซให้แน่น 1/2 ชม. อย่าพูดหรือเคี้ยวผ้าก๊อซเล่น และ กลืนน้ำลายไม่ให้ผ้าก๊อซชุ่ม
  • หลังเอาผ้าก๊อซออก หากพบเลือดออกจากแผลถอนฟัน ให้วางผ้าก๊อซขึ้นใหม่ที่แผล ถอนฟัน และกัดต่อให้แน่นอีก 1/2 ชม.
  • ไม่บ้วนน้ำลายหรือกลั้วปากแรง ๆ ภายใน 24 ขม.หลังตอนฟัน ควรแปรงฟันให้สะอาดหลังอาหารและก่อนนอนโดยระวังอย่าให้โดนบริเวณแผล
  • รับประทานยาตามที่ทันตแพทย์แนะนำ

– ยาแก้ปวด ถ้ามีอาการปวด

– ยาปฏิชีวนะ (เฉพาะบางราย) รับประทานต่อเนื่องจนยาหมดควรให้ความระมัดระวังในผู้ป่วยเด็กที่ได้รับยาซาเฉพาะที่

– ยาซาเฉพาะที่จะมีฤทธิ์อยู่นาน 2-3 ชม.

  • ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการกัตริมฝีปาก ลิ้น หรือกระพุ้งแก้มขณะที่ชา
  • หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารบริเวณที่รู้สึกซา ถ้ารับประทานอาหาร ควรเลือกอาหารอ่อนและเคี้ยวโดยใช้ข้างที่ไม่ได้รักษา
  • หากกัดโดนริมฝีปาก ลิ้น หรือกระพุ้งแก้มเป็นแผล อาจมีเลือดออกหรือบวมร่วมด้วยใช้ผ้าสะอาดกดไว้จนเลือดหยุด จะมีอาการเจ็บแผลหรือระบมเมื่อหายซา ถ้าจำเป็นให้รับประทานยาแก้ปวด
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสเปรี้ยวหรือรสเผ็ด รักษาบริเวณแผลที่กัดให้สะอาด แผลจะค่อยๆ หายใน 1 สัปดาห์

ความหมาย

ตกขาว หมายถึง สารคัดหลั่งที่ออกมาจากช่องคลอดและปากมดลูกลักษณะของตกขาวปกตินั้นจะเป็นมูกใสๆไม่มีสีหรือเป็นสีขาว ไม่มีกลิ่นเหม็น ปริมาณไม่มาก ไม่คัน พบได้มากในช่วงกลางของรอบประจำเดือนหรือขณะตั้งครรภ์ และในขณะมีเพศสัมพันธ์จะมีการหลั่งของเมือกในช่องคลอดมากขึ้น

สาเหตุของตกขาว

มีสาเหตุใหญ่ๆ อยู่ 2 ประเภท คือ

  1. มีการติดเชื้อในช่องคลอด เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสหรือพยาธิในช่องคลอด ทำให้เกิดการอักเสบของช่องคลอด

ซึ่งมักเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

  1. อาจเกิดจากโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งพบได้น้อย

อาการที่ควรจะพบแพทย์

เมื่อมีอาการตกขาวที่ผิดปกติ เช่น

  1. ตกขาวปริมาณมากขึ้นร่วมกับมีอาการคันบริเวณช่องคลอดหรืออวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก หรือบางครั้งมีอาการปัสสาวะขัดร่วมด้วย
  2. ลักษณะสีของตกขาวจากไม่มีสีกลายเป็นสีเหลือง สีเขียวหรือสีขาว มีกลิ่นคาวหรือกลิ่นเหม็นผิดปกติ
  3. มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหรือมีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วย

หลังรับการรักษาตกขาวแล้วจะเกิดซ้ำได้หรือไม่ ?

ตกขาวที่เกิดจากการติดเชื้อถึงจะได้รับการรักษาแล้ว ถ้ากลับไปติดเชื้ออีกก็มีโอกาสเกิดซ้ำได้อีก แต่ถ้าเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกขึ้นอยู่กับระยะของโรคมะเร็ง

การรักษา

รักษาตามสาเหตุของการเกิดโรค เช่น การรับประทานยาปฏิชีวนะหรือยาเหน็บช่องคลอด ในบางรายอาจพิจารณารักษาคู่นอนด้วย

การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการตกขาวกลับเป็นซ้ำ

  1. ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานานๆหากไม่มีความจำเป็น
  2. ควรรับประทานอาหารที่สดใหม่และมีคุณภาพ ดื่มน้ำมากๆ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ
  3. ดูแลอวัยวะเพศอย่าให้อับชื้นเป็นเวลานาน และไม่ควรสวมกางเกงที่มีขนาดเล็กกว่าไซส์ตัวเองหรือรัดเกินไป
  4. งดสวนล้างช่องคลอด
  5. ไม่ควรกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน

เมื่อผู้ป่วยหรือญาติสังเกตพบอาการผิดปกติดังกล่าว กรุณาโทรติดต่อพยาบาล เพื่อแจ้งอาการหรือขอคำปรึกษาการปฏิบัติตัว ที่โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ โทร 02-5940020-60 ต่อ 1320, 1321

แผนกสุขภาพสตรี  ในเวลา 08.00 -20.00 น.

 ความหมาย

Colposcopy หมายถึง วิธีการตรวจอวัยวะสืบพันธุ์สตรีส่วนล่าง โดยใช้กล้องส่องขยาย ซึ่งมีกำลังขยาย 6-40 เท่าของกล้องจุลทรรศน์ เป็นขั้นตอนหนึ่งของการตรวจวินิจฉัยโรคของสตรีที่มีผลการตรวจภายในผิดปกติ หรือผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผิดปกติ

วัตถุประสงค์

เพื่อหาตำแหน่งและระดับความรุนแรงของรอยโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งรอยโรคที่สัมพันธ์กับมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีส่วนล่าง

คำแนะนำผู้ป่วยก่อนเข้ารับการตรวจ

  1. รับประทานอาหารและน้ำได้ตามปกติ
  2. ถ้ามีประจำเดือนในวันนัด ให้โทรแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อเลื่อนวันนัด จนกว่าจะหมดประจำเดือน
  3. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ และไม่ควรเหน็บยา หรือสวนล้างช่องคลอดก่อนมารับการตรวจ 1-2 วัน
  4. ถ่ายปัสสาวะทิ้งก่อนตรวจ เพื่อช่วยให้แพทย์ทำการตรวจได้สะดวกขึ้นและเตรียมตัวตรวจเช่นเดียวกับการตรวจภายใน
  5. หากตรวจพบความผิดปกติ มีความจำเป็นที่ต้องทำการขลิบชิ้นเนื้อเล็กๆ ส่งตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อวินิจฉัยโรค

คำแนะนำผู้ป่วยในกรณีที่แพทย์ตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ

  1. หากเลือดออกมาก แพทย์จำเป็นต้องใส่ผ้าก๊อซเพื่อห้ามเลือดไว้ในช่องคลอด ลักษณะคล้ายผ้าอนามัยแบบสอด ท่านสามารถขับถ่ายได้ตามปกติ ท่านต้องดึงผ้าก๊อซออกภายใน 24 ชั่วโมงหลังการตรวจ คือก่อนนอนหรือเช้าวันรุ่งขึ้นเป็นอย่างช้า โดยการนั่งยองๆและดึงด้ายที่ยื่นออกมาจากปากช่องคลอด จะมีผ้าก๊อซตามออกมาด้วย หากไม่ดึงผ้าก๊อซออกอาจเกิดการติดเชื้อขึ้นได้ หลังดึงผ้าก๊อซออกอาจมีเลือดออกได้บ้างเล็กน้อย เป็นเวลาไม่เกิน 7 วัน ควรใส่ผ้าอนามัยไว้เพื่อสังเกตความผิดปกติ
  2. งดการมีเพศสัมพันธ์ อย่างน้อย 2 สัปดาห์
  3. สามารถทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกหลังการขับถ่ายทุกครั้งได้ตามปกติ แต่ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด หรือใส่ผ้าอนามัยชนิดสอดในช่องคลอด
  4. รับประทานยา ตามคำสั่งแพทย์ และรับประทานอาหารได้ตามปกติ
  5. สามารถทำงานได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงการยืนหรือเดินนานๆ 1 วัน หลังการตรวจ
  6. มาฟังผลการตรวจชิ้นเนื้อตามแพทย์นัด เพื่อทราบผลการวินิจฉัยและแผนการรักษาต่อไป

อาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์

มีเลือดออกมากหรือออกตลอดเวลาจากช่องคลอด ภายหลังการตัดชิ้นเนื้อ มีไข้สูง เจ็บปวดในช่องคลอด มีตกขาวผิดปกติ และมีกลิ่นเหม็น

เมื่อผู้ป่วยหรือญาติสังเกตพบอาการผิดปกติดังกล่าว กรุณาโทรติดต่อพยาบาล เพื่อแจ้งอาการหรือขอคำปรึกษา

การปฏิบัติตัว ที่โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ โทร 02-5940020-60 ต่อ 1320, 1321

แผนกสุขภาพสตรี  ในเวลา 08.00 -20.00 น.

การเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อภายในโพรงมดลูก หมายถึง วิธีการเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อภายในโพรงมดลูก โดยใช้อุปกรณ์เอ็นโดเซล/เอ็นโดแซมเปลอร์ (Endocell/ Endosampler) ใส่เข้าไปทางช่องคลอด/ปากมดลูกเพื่อเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อภายในโพรงมดลูก ส่งตรวจทางพยาธิวิทยา

วัตถุประสงค์

เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคและการรักษา

ข้อบ่งชี้ในการทำ

  1. สตรีวัยหมดประจำเดือนที่มีเลือดออกทางช่องคลอด
  2. สตรีอายุมากกว่า 35 ปี ที่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
  3. สตรีอายุน้อยกว่า 35 ปี ที่มีภาวะไม่ตกไข่เรื้อรังและมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด

การปฏิบัติตัวก่อนการเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อภายในโพรงมดลูก

  1. สามารถทำได้ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก ใช้เวลาโดยประมาณ 5-10 นาที โดยผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ไม่ต้องดมยาสลบ ไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร
  2. ควรปัสสาวะก่อนทำการตรวจ เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะว่าง แพทย์ทำการตรวจได้สะดวกขึ้น
  3. ถ้ามีโรคประจำตัว ประวัติการใช้ยาละลายลิ่มเลือด ประวัติการแพ้ยาต่างๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทำ
  4. ทำจิตใจให้สบาย ผ่อนคลาย ขณะทำการตรวจจะมีเจ้าหน้าที่พยาบาลอยู่ด้วยตลอดเวลา จนสิ้นสุดการทำ

การปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน

  1. ใส่ผ้าอนามัยหลังการทำ เพื่อสังเกตปริมาณเลือดออกภายหลังการตรวจ อาจมีเลือดออกเล็กน้อย

ประมาณ 1-2 วัน ทำความสะอาดร่างกาย อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกได้ตามปกติ

  1. หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอดหรือใส่ผ้าอนามัยแบบสอดในช่องคลอด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  2. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง (ถ้ามี) และมาฟังผลการตรวจชิ้นเนื้อตามแพทย์นัด

เมื่อผู้ป่วยหรือญาติสังเกตพบอาการผิดปกติดังกล่าว กรุณาโทรติดต่อพยาบาล เพื่อแจ้งอาการหรือขอคำปรึกษาการปฏิบัติตัว ที่โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์โทร 02-5940020-60 ต่อ 1320, 1321

แผนกสุขภาพสตรี  ในเวลา 08.00 -20.00 น.

โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร

โรคหลอดเลือดสมอง หรือที่เรียกว่า โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต” เกิดจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยงอย่างฉับพลัน แบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ

1) เส้นเลือดสมองตีบ

2) เส้นเลือดสมองแตก

เมื่อสมองขาดเลือดไปเลี้ยง เชลล์สมองจะตาย ทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกายในส่วนที่ควบคุมโดยสมองที่ได้รับความเสียหาย

โรคหลอดเลือดสมองพบได้บ่อยแค่ไหน

ทั่วโลกจะพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 2 คนต่อประชากร ทุกๆ 1000 คน แปดสิบเปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยทั้งหมดมีอายุมากกว่า 60 ปี โรคหลอดเลือดสมองจึงรีบด่วนทุกนาทีมีค่า ยิ่งสมองขาดเลือดนานสมอง
จะถูกทำลายมากขึ้น ช่วงเวลาสำคัญที่สุดคือ 4.5 ชั่วโมงแรกหลังมีอาการ และควรพาผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

อาการสำคัญ

  1. อาการอ่อนแรงของแขนขาครึ่งซีกมักจะเกิดทันที และใช้เวลาไม่นานจนอาการคงที่ ผู้ป่วยบางรายที่อาการอ่อนแรงเป็นอย่างช้าๆ ใช้เวลาเป็นชั่วโมงถึงวัน เนื่องจากลิ่มเลือดในหลอดเลือดค่อยๆ มีขนาดใหญ่ขึ้น
  2. มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น อาจจะตามองไม่เห็นข้างหนึ่ง หรือกรอกตาไปข้างใดข้างหนึ่งไม่ได้ หรือเห็นภาพซ้อน
  3. ชาซีกใดซีกหนึ่ง
  4. มึนงง ทรงตัวไม่ได้ เดินเซ
  5. พูดไม่ชัด พูดอ้อแอ้ ไม่เข้าใจคำพูด บางคนพูดไม่ได้ ซึมลง จนกระทั่งหมดสติ


ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง

การลดปัจจัยเสี่ยงจะช่วยลดโอกาสการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้

1) ความดันโลหิตสูง

2) หัวใจเต้นผิดจังหวะ

3) ไขมันในเลือดสูง

4) เบาหวาน

5) สูบบุหรี่

6) อ้วน/ น้ำหนักเกิน

7) ความเครียด

8) ขาดการออกกำลังกาย

ปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้

1) อายุ

2) เพศ

3) เชื้อชาติ

4) ประวัติโรคหลอดเลือดสมองในครอบครัว

5) โรคทางพันธุกรรมบางประเภท

6) เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคหัวใจขาดเลือดมาก่อน

โรคหลอดเลือดสมองหายเป็นปกติได้หรือไม่

การฟื้นสภาพร่างกายจากโรคหลอดเลือดสมองต้องอาศัยระยะเวลาอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะในระยะหกเดือนแรกหลังเกิดอาการ อาการจะดีขึ้นเร็วช้าหรือมากน้อยเพียงใดขึ้นกับสภาพร่างกาย และพยาธิสภาพของแต่ละบุคคล การทำกายภาพบำบัดจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยพื้นตัวได้เร็วขึ้นโอกาสเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองพบได้ค่อนช้างบ่อย พบว่าประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยที่
โรคหลอดเลือดสมองครั้งแรก จะมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีกภายในห้าปี

การปฏิบัติตัว

1) ควบคุมปัจจัยเสี่ยงให้อยู่ในค่าที่กำหนด

  • แอลดีแอล คลอเลสเตอรอล (LDL-cholestero/ < 100 มิลลิกรัมต่อเดซิสิตร
  • เอชดีแอล คลอเลสเตอรอล (HDL-cholesterol > 40 มิลลิกรัมต่อเดซิสิตร
  • ความดันโลหิตน้อยกว่าหรือเท่ากับ 120/80 มิลลิเมตรปรอท
  • น้ำตาลในเลือดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 มิธลิกรัมต่อเดชิลิตร

2) รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ งดเค็ม งดหวาน

3) รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ

4) ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ

5) ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

6) เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

7) ห้ามใช้ยาเสพติดทุกชนิด เช่น เฮโรอีน โคเลน หรือกัญชา

วิธีป้องการการเกิดโรคหลอดเลือดสมองช้ำ

  1. รับประทานยาควบคุมความดันโลหิตและระดับน้ำตาล
  2. รับประทานยาแอสไพรินหรือยาต้านเกร็ดเลือดตามแพทย์สั่ง
  3. ออกกำลังกายหนักปานกลาง อย่างน้อย 15-30 นาทีต่อเนื่อง 3-5 วันต่อสัปดาห์
  4. มาพบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง

คำแนะนำสำหรับการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยเมื่อกลับบ้าน

1) ประสานงานร่วมกับผู้ดูแลเพื่อการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

2) พบแพทย์ตามนัดภายใน 1 เดือนหลังออกจากโรงพยาบาล

3) ทำการกายภาพบำบัดต่อเนื่องที่บ้านสม่ำเสมอ

4) ทำกิจวัตรประจำวันให้ใกล้เคียงปกติเหมือนก่อนเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ค่อยๆ เริ่มวันละเล็กวันละน้อย

5) สร้างเครือข่ายในชุมชน เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของผู้ป่วย

ข้อควรปฏิบัติเมื่อพบผู้ป่วยสงสัยโรคหลอดเลือดสมอง

โทรเรียกขอความช่วยเหลือที่ 1669 รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที

การตรวจยืนยันโรคหลอดเลือดสมอง

ปัจจุบันมีอุปกรณ์หลายชนิดที่ช่วยในการวินิจฉัยและสืบค้นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่

1) เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

2) เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ฉีดสีเส้นเลือด (CT angiography หรือเอกชเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าฉีดสีเส้นเลือด (MRA)

3) อัลตราชาวด์หัวใจ (Echocardiography)

แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

1) การรักษาด้วยยา แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

  • ยาต้านเกร็ดเลือด เช่น แอสไพริน, Clopidogrel
  • ยาละลายลิ่มเลือด เช่น heparin, low molecular weight heparin, warfarin
  • ยาลดไขมัน เช่น statin
  • ยาลดความดันโลหิต

2) การรักษาด้วยการผ่าตัดในผู้ป่วยบางรายที่เป็นเส้นเลือดสมองแตก หรือเส้นเลือดสมองตีบขนาดใหญ่

3) การกายภาพบำบัด

สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง

  1. เลิกสูบบุหรี่ งดเหล้า และเบียร์
  2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  3. ไม่หงุดหงิดคิดมากไม่เครียดอะไรง่ายๆ
  4. หลีกเลี่ยงอาหารมัน เค็ม หวานและเครื่องในสัตว์

โรคความดันโลหิตสูง

สิ่งที่ควรทราบความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่พบมากในปัจจุบันโดยเฉพาะผู้สูงอายุ และนับว่าเป็นโรคที่อันตรายร้ายแรงถึงชีวิต
ได้จากภาวะแทรกซ้อน หากไม่ได้รับการดูแลรักษา

ความดันโลหิตปกติ คือ

  • ค่าความดันโลหิตตัวบนปกติเท่ากับ 90 – 130 มิลลิเมตรปรอท
  • ค่าความดันโลหิตตัวล่างปกติเท่ากับ 60 – 80 มิลลิเมตรปรอท

ความดันโลหิตสูง คือ

  • ค่าความดันโลหิตประมาณ >130 / 80 มิลลิเมตรปรอท

สาเหตุ

สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแต่จากการวินิจฉัยของแพทย์พบว่า อาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ ในการดำรงชีวิตที่ไม่ถูกต้อง เช่น

  • สูบบุหรี่จัด
  • น้ำหนักตัวมากเกิน ขาดการออกกำลังกาย
  • ประสาทตึงเครียดตลอดเวลา
  • ภาวะน้ำตาล หรือ ไขมันในเลือดสูง
  • การบริโภคเกลือมากเกิน
  • กรรมพันธุ์

อาการผิดปกติที่พบบ่อย

  • ปวดมึนศีรษะบริเวณท้ายทอย มักเป็นตอนเช้า
  • ตาพร่ามัว มึนงง
  • เวียนศีรษะ รู้สึกโคลงเคลง บ้านหมุน
  • คลื่นไส้
  • นอนไม่หลับ
  • เพลีย ไม่มีแรง
  • แน่นหน้าอกเวลาออกกำลังกาย

อันตราย

หากไม่ได้รับการรักษา หรือควบคุมความดันโลหิตไม่ได้เป็นเวลานานๆ จะทำให้หลอดเลือดตีบและแข็งตัว อวัยวะสำคัญต่างๆ อาจมีเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ และเป็นอันตรายถึงพิการ หรือเสียชีวิตได้จากภาวะแทรกซ้อน เช่น
เส้นเลือดในสมองแตกทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้หัวใจโต และหัวใจวาย ไตวาย หรืออักเสบเรื้อรัง

การปฏิบัติตัว

ควรตรวจเช็ค และจดบันทึกความดันโลหิตเป็นประจำ

  • ถ้ามีความดันโลหิตที่ผิดปกติ ต่อเนื่องกันหลายวันต้องปรึกษาแพทย์
  • หากมีอาการผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ทันที
  • ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ทานยาอย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่ควรเปลี่ยนขนาดของยาเอง โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์
  • หากจำเป็นต้องใช้ยาอื่นร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์
  • ออกกำลังกายสม่ำาเสมอ
  • เลิกสูบบุหรี่ งดเหล้า และเบียร์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ไม่หงุดหงิดคิดมาก หรือเครียดอะไรง่ายๆ
  • หลีกเลี่ยงอาหารมัน เค็ม หวาน และเครื่องในสัตว์

โรคเบาหวาน คืออะไร

โรคเบาหวานเป็นภาวะที่มีความผิดปกติในการควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงถึงระดับหนึ่ง จะมีน้ำตาลออกมาในปัสสาวะ จึงเรียกโรคนี้ว่า เบาหวาน

เบาหวานมีกี่ประเภท

เบาหวาน แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ

  1. เบาหวานที่ต้องพึ่งอินซูลิน เกิดจากตับอ่อนสร้างอินซูลินไม่ได้เลย มักเป็นกับเด็ก (อายุน้อยกว่า 30 ปี) เมื่อเป็นอาจมีอาการรุนแรง และเป็นกระทันทัน ผู้ที่เป็นส่วนใหญ่จะผอมการรักษานั้นต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลินตั้งแต่ทราบว่าเป็นเบาหวาน
  2. เบาหวานที่ไม่ต้องพึ่งอินซูสิน เกิดจากตับอ่อนสร้างอินซูลินได้น้อย หรือร่างกายมีการดื้อต่อฤทธิ์ของอินซูลิน
    มักพบในผู้ใหญ่อายุมากกว่า 35 ปี ผู้ที่เป็นมักอ้วน ส่วนการรักษา แพทย์จะรักษาโตยให้ยารับประทาน หรือร่วมกับการฉีดอินซูสิน

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเบาหวาน

  1. อาการที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงๆ ผู้ป่วยมักจะปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย น้ำหนักลดลง ถ้าระดับน้ำตาลมีสูงมากๆ
    อาจทำให้ซึมหรือชักได้
  1. ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดที่สูงนาน ๆ จะทำให้เกิดโรคแทรกได้หลายระบบ ได้แก่

2.1 โรคตาจากเบาหวาน เช่น ต้อกระจก ต้อหินเส้นเลือดแตกในจอตา ทำให้มีอาการตามัว มองไม่เห็นหรือเห็นภาพซ้อนได้

2.2 โรคไตจากเบาหวาน

2.3 โรคอาการทางประสาท เช่น อาการชาปลายมือเท้า ปวดแสบปวดร้อน

2.4 การแข็งตัวของเส้นเลือดใหญ่ ๆ และการอุดตันในเส้นเลือดขึ้นกับตำแหน่งของเส้นเลือดนั้นๆ เช่น เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต เส้นเลือดที่หัวใจทำให้เกิดหัวใจขาดเลือด เจ็บหน้าอก

2.5 แผลเบาหวานที่เท้า เนื่องจากการรับความรู้สึกที่เท้าลดลง

จะทำอย่างไรเพื่อข้องกันภาวะแทรกซ้อนจากเบาทวาน

เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน เกิดจากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงมานาน การที่เราสามารถวินิจฉัยและเริ่มทำการรักษาแต่เริ่มแรก และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด ก็จะสามารถป้องกันหรือทำให้ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวเกิดขึ้นช้าลงได้

จะทำอย่างไร เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากเบาทวาน

เนื่องจากภาวะแทรกช้อนจากเบาหวาน เกิดจากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงมานาน การที่เราสามารถวินิจฉัย

และเริ่มทำการรักษาแต่เริ่มแรก และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด ก็จะสามารถป้องกันหรือทำให้

ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวเกิดขึ้นช้าลงได้

บุคลลใคที่ควรได้รับการตรวจว่าเป็นโรคเบาหวามหรือไม่

  1. กลุ่มที่มีอาการที่ทำให้สงสัยว่าจะเป็นเบาหวาน เช่นปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย น้ำหนักตัวลดลง มีแผลที่เท้าเรื้อรัง
  2. กลุ่มที่ยังไม่มีอาการ แต่เป็นกลุ่มเสียงที่อาจจะเป็นเบาหวานได้สูง เช่น คนอ้วน ญาติของบุคคลที่เป็นเบาหวาน

(พ่อ แม่ พี่ น้อง) หญิงตั้งครรภ์ที่อายุมาก, เคยคลอดบุตรตัวโตคลอดบุตรตายคลอด, บุคคลที่มีความดันโลหิตสูง

ไขมันในเลือดสูง, โรคหัวใจขาดเลือด, บุคคลที่มีอายุมากกว่า 35 ปี คนที่ดื่มสุราเป็นประจำ สุราจะทำให้ตับอ่อนเสื่อมสมรรถภาพ, ผู้ที่ได้รับยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ, ยาแก้อักเสบประเภทสเตียรอยด์ฮอร์โมนบางอย่าง รวมทั้งยาคุมกำเนิด

จุคมุ่งหมายในการรักษาโรคเบาหวาม

  1. เพื่อให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวเท่ากับคนทั่วไป
  2. บำบัดอาการต่าง ๆ ตลอดจนภาวะแทรกซ้อน
  3. การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ไนเกณฑ์ปกติ
  4. รักษาระดับน้ำตาล ไขมัน ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  5. ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน

หลักเกณฑ์ในการรักษาผู้ป่วยเบาหวาน

  • รับประทานอาหารที่เหมาะสม และควบคุมน้ำหนักตัวไห้ปกติ แบ่งอาหารเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มแรก ควรหลีกเลี่ยง ไม่ควรรับประทานเลย ได้แก่ อาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบโดยตรง เช่น น้ำอัดลม

น้ำตาล น้ำผึ้ง ขนมหวานทุกชนิด ขนมข่บเคี้ยว ผลไม้ -กระป๋อง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เซ่น ทุเรียน น้อยหน่า ลำไย มะม่วงสุก ขนุน ละมุด

 กลุ่มสอง จะต้องลดจำนวนลง เพราะถ้ารับประทานมาก ๆ จะทำให้น้ำตาลสูงขึ้นได้ ได้แก่ อาหารประเภทแป้ง เช่น

ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ขนมบัง ขนมจีน เผือกมัน ข้าวเหนียว อาหารไขมัน เช่น น้ำมัน เครื่องในสัตว์ หนังสัตว์ นม เนย ครีม มะพร้าว ผลไม้ที่มีรสหวานอ่อน ๆ เช่น ส้ม ชมพู่ สับปะรด แตงโม ฝรั่ง พุทรา มังคุด มะละกอ

กลุ่มสาม สามารถรับประทานได้ไม่จำกัด เช่น น้ำหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ เช่น Diet Coke,

Pepsi Max, นมจืด, ผักทุกชนิด ยกเว้น หัวหอมใหญ่, ฟักทอง, สะตอ, สะเดา, มะรุม ซึ่งรับประทานได้พอควร

  • การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายมีผลดีอย่างไรข้าง

  1. ทำให้ระดับน้ำตาลควบคุมได้ดีขึ้น และอาจทำให้ใช้ยาฉีด หรือยากินน้อยลงได้
  2. ทำให้ช่วยลดน้ำหนัก
  3. ช่วยลดภาวะความดันโลหิตสูง และอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ

ข้อควรระวังในการออกกำลังกายในผู้ป่วยเนาหวาน

  1. อาจจะทำให้ระดับน้ำตาลต่ำในผู้ที่ควบคุมน้ำตาลได้ปกติหรือค่อนข้างต่ำอยู่แล้ว ในทางตรงกันข้ามในผู้ป่วย
    ที่ควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี อาจทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้นได้
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีโรคเส้นเลือดหัวใจตีบอยู่เดิมการออกกำลังกายควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ เพราะอาจเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน หรือเต้นผิดจังหวะได้
  1. ผู้ป่วยที่มีข้อเข่าเสื่อมอยู่ การออกกำลังกายผิดประเภทอาจทำให้ข้อเสื่อมากขึ้นได้
  2. ผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดผิดปกติในจอภาพของตา การออกกำลังกายอาจทำให้เส้นเลือดในจอตาแตก ทำให้ตามัวลงได้
  3. ผู้ป่วยที่มีอาการชาของเท้าอยู่เดิม อาจได้รับการกระทบกระเทือนจนเกิดแผล ที่เท้าโดยไม่รู้ตัวได้
  • การควบคุมน้ำตาลด้วยยาเบาหวานชนิดรับประทานควรรับประทานยาสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์
    พยาบาลเภสัชกร

 

 

 

ชนิดของยาอินซูลิน

ชนิดของยาอินซูติน มี 2 ชนิดดังนี้

  1. ชนิดใส จะออกฤทธิ์และหมดฤทธิ์เร็ว ฉีดวันละ 3 – 4 ครั้ง ก่อนอาหารแต่ละมื้อ
  2. ชนิดขุ่น จะออกฤทธิ์และหมดฤทธิ์ช้า ฉีดวันละ 1 หรือ 2 ครั้ง


การเก็บรักษาอินซูลิน
ควรเก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส โดยวางตามชั้นต่างๆ ในตู้เย็นยกเว้นช่องทำน้ำแข็ง และฝาเปิดตู้เย็น

  • กรณียังไม่ได้เปิดใช้ : เก็บในตู้เย็น เก็บได้นาน 1 ปี
  • กรณียังไม่ได้เปิดใช้ : วางไว้ด้านนอก ไม่ได้แช่ตู้เย็น เก็บได้นาน 30 วัน
  • กรณีเปิดใช้แล้ว : ไม่ต้องเก็บเข้าตู้เย็นอีก เก็บได้นาน 30 วัน
  • กรณีรับยากลับบ้านจากโรงพยาบาล ควรแช่ในกระติกน้ำแข็ง หลีกเลี่ยงแสงแดด และแช่ตู้เย็นทันทีเมื่อถึงบ้าน
  • กรณีเดินทาง และนำยาไปด้วยหลังเปิดใช้แล้ว : ไม่ต้องแช่ขวดอินซูลินในกระติกน้ำแข็ง เพียงระวังไม่ให้ถูกแสงแดด หรือความร้อนอบอ้าว หรือทิ้งไว้ในรถที่มีอุณหภูมิสูงอาการข้างเคียง
  • อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งเกิดจากการให้อินซูลินมากเกินไป รับประทานอาหารน้อยเกินไป ผิดเวลาหรือช่วงระหว่างมื้อนานเกินไป ออกกำลังกาย หรือทำงานมากกว่าปกติ จะมีอาการปวดหัว เหงื่อออก ใจสั่น กระสับกระส่าย อ่อน-เพลีย ชาในปากหรือริมฝีปาก ดินเซ หงุดหงิด มองภาพไม่ชัด ถ้ามีอาการเหล่านี้ให้ดื่มน้ำผลไม้ หรือรับประทานของที่มีน้ำตาลผสม (ห้ามใช้น้ำตาลเทียม) และไปพบแพทย์ทันที
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เป็นผลจากการได้รับอินซูลินไม่เพียงพอ หรือรับประทานมากกินไป จะปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ หิว ปวดหัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้มึนงง ถ้าเป็นลม ให้นำส่งโรงพยาบาลทันทขั้นตอนการเตรียมยาฉีดอินซูลิน
  • ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่แล้วเช็ดให้แห้งทุกครั้งก่อนฉีด
  • นำขวดอินซูสินวางบนฝ่ามือแล้วคลึงไปมาเบาๆ ห้ามเขย่าขวด จะทำให้เกิดฟองอากาศ (ชนิดใสไม่ต้องกลิ้งขวด)
  • ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดจุกยางของขวดอินซูลิน
  • ดูดลมเข้ามาในหลอดฉีดยาให้จำนวนเท่ากับปริมาณยา (หน่วยเป็นยูนิต) ที่ต้องการ
  • แทงเข็มฉีดยาให้ผ่านจุกยางเข้าไปในขวดยาแล้วดันอากาศเข้า ไปในขวด
  • คว่ำขวดยาลงแล้วค่อยๆ ดูดยาอินซูลินเข้าหลอดฉีดยาในปริมาณที่มากกว่าความต้องการ 2 ยูนิต
  • ดันยา เพื่อไล่อากาศออกและให้ยาข้าไปอยู่ในเข็มฉีดยาจนได้ปริมาณยาที่ต้องการใช้จริง และปิดจุกเข็มฉีดยาไว้ก่อนขั้นตอนการฉีดยาอินซูลิน
  • ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะฉีด และรอให้แห้ง
  • เปิดจุกเข็มฉีดยาออก และปักลงไปในบริเวณที่จะฉีด โดยใช้มืออีกข้างหนึ่งดีงผิวหนังบริเวณที่ฉีดให้สูงขึ้นเป็นลำแล้วแทงเข็มฉีดยาลงไปตรงๆ ให้ตั้งฉากกับผิวหนังเข้าชั้นใต้ผิวหนังให้มิดเข็ม ดันยาจนสุด และปักค้างไว้10 วินาที
  • ถอนเข็มฉีดยาออกใช้สำลีกดตำแหน่งที่ฉีดยาไว้ชั่วขณะถ้ามีเลือดออกไม่ควรคลึง หรือนวดบริเวณฉีด
  • เข็มฉีดยาเมื่อใช้แล้วควรทิ้ง หรือ เก็บไว้ใช้ได้อีก 1 ครั้ง (ไม่เกิน 2 ครั้ง) โดยการสวมปลอก นำไปไว้ในตู้เย็นและนำมาใช้อีกได้ (อย่านำเข็มไปล้าง หรือเช็ด)

บริเวณที่ยาฉีดอินซูลิน (ภาพแสดงตำแหน่งที่ฉีดอินซูลิน)

แนะนำให้ฉีดยาอินซูลินบริวณหน้าท้องป็นส่วนใหญ่ (บริเวณ A) เนื่องจากมีการดูดซึมอินซูลินได้ดี และสม่ำเสมอรองลงมา คือ หน้าขาส่วนบน และแขน ตามลำดับ

การหมุนเวียนตำแหน่งฉีดอินซูลินบริเวณใต้ผิวหนังหน้าท้อง

  1. แบ่งหน้าท้องเป็น 4 quadrant
    ตำแหน่งที่ห้ามฉีด คือ บริเวณสะดือ ฉีดห่างสะดือประมาณ 1 นิ้ว หรือเท่ากับความกว้างของ 2 นิ้วมือ
  2. หน้าท้องที่แบ่งเป็น 4 quadrant นั้น ให้ผู้ป่วยแบ่งฉีดเป็น 4 สัปดาห์ โดยแบ่งเป็น สัปดาห์ละ 1 quadrant
    เวียนตามเข็มนาฬิกาได้เรื่อยๆ โดยแต่ละ quadrant นั้น (7 วัน) ต้องไม่ซ้ำตำแน่งเดิมและแต่ละจุดห่างกัน 1 นิ้ว เพื่อป้องกันการเกิดเป็นไตแข็งใต้ผิวหนัง

โรคหลอดเลือดหัวใจรุนแรงไหม

โรคหลอดเลือดหัวใจจัดเป็นโรคเรื้อรัง และรุนแรง เป็นสาเหตุให้เกิดทั้งความพิการ และเสียชีวิต คุณภาพชีวิตลดลง ต้องจำกัดการออกแรงจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือเกิดโรคหัวใจวาย
หรือโรคหัวใจล้มเหลว

โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดขึ้นได้อย่างไร

สาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจ คือการมีไขมันจับที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจที่เรียกว่า พลาค (Plaque)
จึงส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแข็ง หนา ช่องในหลอดเลือดจึงตีบแคบลง และเมื่อพลาคนี้ก่อให้เกิดการอักเสบของผนัง
หลอดเลือดหรือ ผนังหลอดเลือดบาดเจ็บเสียหาย ร่างกายจะซ่อมแซมผนังส่วนเสียหายโดยมีการจับตัวเป็นก้อนของ
เกล็ดเลือด และเม็ดเลือดขาว จึงยิ่งส่งผลให้ช่องในหลอดเลือดตีบแคบลงอีก เลือดจึงหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง
จึงเกิดเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และบ่อยครั้ง การซ่อมแซมจากร่างกายนี้ก่อให้หลอดเลือดอุดตัน จึงส่งผลให้เกิด กล้ามเนื้อหัวใจตาย สาเหตุจากการขาดเลือด ซึ่งอาจเกิดได้อย่างเฉียบพลัน และเมื่อรุนแรง จะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการ
หัวใจวาย เสียชีวิตได้ทันที นอกจากนั้น หลอดเลือดหัวใจ ยังสามารถบีบหดตัวได้ ดังนั้นเมื่อมีการหดตัวของหลอดเลือด
จึงส่งผลให้รูท่อหลอดเลือดตีบแคบลง จึงเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้ เช่น จากภาวะมีความเครียดสูง เป็นต้น

โรคหลอดเลือดหัวใจมีปัจจัยเสี่ยงไหม

ปัจจัยเสี่ยง หรือกลุ่มเสี่ยง ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่

  • มีไขมันในเลือดสูง
  • โรคเบาหวาน เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงให้หลอดเลือดอักเสบ
  • โรคความดันโลหิตสูง จากผนังหลอดเลือดแข็งตัว และมักเกิดร่วมกับโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง
  • สูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ ทำลายเซลล์ของหลอดเลือดโดยตรง ก่อให้หลอดเลือดแข็ง และยังทำลายเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจวาย
  • ขาดการออกกำลังกาย เพราะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอ้วน
  • อ้วน เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง
  • กินอาหารไม่มีประโยชน์ และกินอาหารไขมันสูง จึงมีผลต่อสุขภาพของเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย รวมทั้งของหลอดเลือดหัวใจ
  • ความเครียดอาจส่งผลให้หลอดเลือดต่างๆ โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมอง ช่องในหลอดเลือดจึงตีบแคบ   กล้ามเนื้อหัวใจ และเซลล์สมองหดได้
  • พันธุกรรม หากพบคนในครอบครัวสายตรงมีประวัติเป็นโรคนี้

โรคหลอดเลือดหัวใจมีอาการอย่างไร

  • เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว
  • เจ็บแน่นหน้าอกเหมือนมีอะไรมาบีบรัด หรือมีของหนักทับอกอยู่อาจมีอาการร้าวไปที่ไหล่ซ้าย และแขนซ้ายได้ เมื่อใช้กำลัง    หรือเมื่อมีความเครียด
  • เหงื่อออกท่วมตัว ตัวเย็น

แพทย์วินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจได้อย่างไร

ได้จากประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว ตรวจร่างกายตรวจวัดความดันโลหิตตรวจขมันในเลือด,
ตรวจภาพหัวใจ และปอดด้วยเอ็กซเรย์, ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ อาจทั้งในกาวะปกติ และในภาวะออกกำลังกายอาจตรวจภาพหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง (Echocardiogram) อาจตรวจภาพหลอดเลือดหัวใจด้วยการใส่สายสวน และอาจมีการตรวจอื่นๆ
เพิ่มติม ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์

รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจได้อย่างไร

แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ คือ ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต (เรื่องกิน ออกกำลังกาย และสุขภาพจิต)
ดูแลรักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง, กินยาขยายหลอดเลือดหัวใจ, กินยาต้านการแข็งตัวของเลือด, กินยาลดไขมันในเลือด
อาจขยายหลอดเลือดด้วยเทคนิคต่างๆ และอาจป็นการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ (โรคหัวใจการซ่อมรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ)
ทั้งนี้ ขึ้นกับความรุนแรงของโรค และดุลพินิจของแพทย์

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ

  • ปฏิบัติตามแพทย์/ พยาบาลแนะนำ
  • กินยาต่างๆตามแพทย์แนะนำให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่ขาดยาของตนเอง
  • จำกัดอาหารไขมันทุกชนิด โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์
  • ออกกำลังกายให้หมาะสมกับสุขภาพ สม่ำเสมอ
  • ควบคุมอาหาร ไม่ให้เกิดโรคอ้วน
  • ดูแล รักษา ควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง
  • รักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต ด้วยการรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อร่างกาย แข็งแรง และมีสุขภาพจิตที่ดีลดความเครียด
  • พบแพทย์ตรงตามนัดเสมอ และรีบพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติไปจากเดิม
  • พบแพทย์เป็นการฉุกเฉินเมื่อ
  • เจ็บแน่นหน้าอกมากอาจเจ็บร้าวขึ้น ขากรรไกร ไปยังหัวไหล่แขน ซ้าย
  • เหนื่อย หายใจขัด นอนราบไม่ได้
  • ชีพจรเต้นอ่อน เต้นเร็ว เหงื่อออกมาก วิงเวียนจะเป็นลม
  • หยุดหายใจ

วิธีป้องกันโรคหลอดเลือดที่สำคัญ ได้แก่

  • ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยการออกกำลังกายตามสุขภาพจำกัดอาหารไขมัน กินอาหารมีประโยชน์ควบคุมน้ำหนักควบคุมโรคต่างๆ ที่เป็นสาเหตุ/ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • ตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ เริ่มเมื่อ อายุ 18-20 ปี
  • ปรึกษาแพทย์เสมอ เมื่อมีความกังวล ในอาการ หรือสงสัยในสุขภาพของตนเอง