การตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery calcium scoring) คือการใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ตรวจหาหินปูน (calcified plaque) ที่บริเวณหลอดเลือดแดงโคโรนารี ซึ่งเป็นหลอดเลือดแดงหลักที่ส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ โดยหินปูนที่ตรวจจะบ่งชี้ถึงความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary artery disease) ยิ่งพบมากยิ่งบ่งบอกถึงความเสี่ยงที่สูงมากขึ้นตามด้วย โดยภาพหินปูนที่หลอดเลือดแดงโคโรนารี จะแปลผลเป็นตัวเลข หรือเรียกว่า Coronary artery calcium score (CAC) หากตรวจไม่พบหินปูนที่หลอดเลือดแดงโคโรนารี่ หรือ Coronary artery calcium score (CAC) เป็น 0 จะบ่งชี้ว่า ความเสี่ยงที่จะมีหลอดเลือดหัวใจตีบหรือโอกาสเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันต่ำมาก ในทางตรงกันข้ามหากค่า Coronary calcium score สูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าที่มากกว่า 400 จะบ่งชี้ว่าความเสี่ยงที่จะมีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภายในระยะเวลา 2-5 ปีสูงมาก แม้ว่าจะมีอาการหรือไม่ก็ตาม
แคลเซียมไปอยู่ที่ผนังหลอดเลือดได้อย่างไร
การที่เราพบแคลเซียมหรือหินปูนบนผนังหลอดเลือด หมายความว่าผนังหลอดเลือดหัวใจตรงจุดนั้น อาจเคยมีการอักเสบ หรือมีความเสื่อม ร่างกายเราจึงสร้างแคลเซียมขึ้นมาปกป้องจุดที่มีการอักเสบนั้นนอกจากนี้หินปูนยังมาพร้อมกับคราบไขมันที่เกาะผนังหลอดเลือด และสะสมมากขึ้นจนเส้นเลือดหัวใจตีบหรือตันได้ส่วนใหญ่เรามักพบแคลเซียมสะสมบนผนังหลอดเลือดในผู้ที่มีอายุเกิน 45 ปีขึ้นไป หรือคนที่มีไขมันในเลือดสูง เป็นโรคเบาหวาน น้ำหนักเกิน เครียด ไม่ออกกำลังกาย สูบบุหรี่ โรคไตเรื้อรังหรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
เมื่อแคลเซียมหรือหินปูนสะสมมากขึ้นในผนังหลอดเลือด จะทำให้หลอดเลือดตีบ ทำให้เลือดไหลผ่านจุดนั้นได้ช้าลงหรือในปริมาณน้อยลง เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดไม่พอ ก็จะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจบีบตัวเพื่อสูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่างๆ ได้ ลดลง และอาจทำให้หัวใจวายเฉียบพลัน
ประโยชน์ของการตรวจหินปูนที่เกาะหลอดเลือดหัวใจ คืออะไร?
การตรวจพบหินปูนที่หลอดเลือดแดงโคโรนารี่ จะทำให้เราทราบถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอนาคตว่ามีมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะเมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับความเสี่ยงพื้นฐานของแต่ละคน เช่น อายุ โรคร่วมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เช่น ความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง หรือประวัติสูบบุหรี่ ซึ่งจะนำพาไปสู่การควบคุมและรักษาโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่เข้มงวดมากขึ้น เพื่อลดโอการเกิดโรคหัวใจตีบหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในอนาคตได้
กระบวนการตรวจมีความยุ่งยากหรือเจ็บตัวหรือไม่
ข้อดีของตรวจหาหินปูนที่หลอดเลือดแดงโคโรนารี่
- เป็นการตรวจที่ไม่เจ็บตัว ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
- ไม่ต้องฉีดยาหรือสารทึบรังสี
- ไม่ต้องมีการเตรียมตัวเป็นพิเศษ
- เป็นการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ตรวจได้รับรังสีในปริมาณน้อยมาก
ใครที่ควรเข้ารับการตรวจหินปูนที่หลอดเลือดแดงโคโรนารี่บ้าง
- ผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน คอเลสเตอรอลสูง สูบบุหรี่ น้ำหนักเกิน หรือมีประวัติคนในครอบครัวเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
บทความโดย นายแพทย์ศิริชัย วิริยะธนากร แพทย์อายุรกรรม-หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
แพ็กเกจแนะนำ
ตรุษจีน ปีนี้ ร่ำรวยมั่งมี สุขภาพดีไปพร้อมกัน
HEALTHY CHRISTMAS ควงคู่สุขภาพดีข้ามปีด้วย โปรแกรมตรวจสุขภาพ 1 แถม 1
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพประจำปี 2568
กิจกรรมคลอดคุณแม่คุณภาพ ประจำปี 2568
บริการทันตกรรมสิทธิ์ประกันสังคม (ไม่ต้องสำรองจ่าย)
แพ็กเกจตรวจสุขภาพ Platinum Plus Check up 2568
แพ็กเกจตรวจสุขภาพ Platinum Check up 2568
แพ็กเกจตรวจสุขภาพ Diamond Plus Check up 2568
แพ็กเกจตรวจสุขภาพ Diamond Check up 2568
แพ็กเกจตรวจสุขภาพ Gold Check up 2568
แพ็กเกจตรวจสุขภาพ Silver Check up 2568
ฟอกไต บริการอุ่นใจ❤️ ทุกสิทธิการรักษา
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันไวรัส RSV สำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
แพ็กเกจ ตรวจการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ 23 สายพันธุ์
แพ็กเกจ ตรวจหัวใจ คนไทยและต่างชาติ
แพ็กเกจ ตรวจการนอนกรน Sleep Test
แพ็กเกจ ตรวจ อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง Abdomen Ultrasound
แพ็กเกจ ตรวจระดับวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ
แพ็กเกจ ตรวจระดับวิตามิน D
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพ Birthday Privileges
บทความสุขภาพอื่นๆ
ปวดท้อง “ผู้หญิง” แบบไหนที่ควรมาพบแพทย์?
พฤติกรรมแบบไหนเสี่ยง โรคไต ถามหา?
ภาวะตัวเหลืองในทารก
มะเร็งที่พบบ่อย ในคนไทย
การ ตรวจสุขภาพประจำปี ดีอย่างไร?
โรต้าไวรัส ภัยร้ายใกล้ตัวเด็กที่ต้องเฝ้าระวัง
กระดูกสันหลังเสื่อมทรุด ส่งผลร้ายต่อกันดำเนินชีวิต
วัคซีนสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ที่ควรฉีด (ผู้สูงอายุคือบุคคลที่มีอายุ >65ปีขึ้นไป)
รู้จัก โรค RSV ภัยร้าย ที่ผู้สูงอายุไม่ควรมองข้าม
9 โรค พบบ่อยในผู้สูงอายุ ที่ควรรู้ เพื่อป้องกันไว้ก่อนดีกว่าแก้
“ก้มเล่นมือถือ” เป็นเวลานาน พฤติกรรมเสี่ยงกระดูกคอเสื่อม
โรคไข้หวัดใหญ่คืออะไร?
การสวนหัวใจและหลอดเลือด
คลอดธรรมชาติ กับ ผ่าคลอด แบบไหนดีกว่ากัน ?
การตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery calcium scoring) คืออะไร ?
มวลกระดูกคืออะไร ทำไมต้องตรวจ ?
โรคฝีดาษลิง หรือ Mpox โรคอุบัติใหม่ที่ไม่ควรมองข้าม
ตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีสำคัญอย่างไร
พฤติกรรมแบบไหน…เสี่ยง! เป็นโรคตับ
“โรคอ้วนในเด็ก” ความน่ารักที่แฝงด้วยอันตราย‼
VDO ความรู้สุขภาพ
ความแตกต่างของ hMPV และ RSV
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – EP.20 โฟลิก สารอาหารที่สำคัญสำหรับคนท้อง
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.19 อาการปวดหัวช่วงตั้งครรภ์…แก้อย่างไรดี?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.18 ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้มั้ย?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.17 ลูกในครรภ์น้ำหนักตกเกณฑ์ กังวลมากเลย
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.16 คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องผูกมาก แก้ยังไงดี?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.15 ใครเสี่ยงบ้าง? ภาวะครรภ์เป็นพิษขณะตั้งครรภ์
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.14 ฟิต&เฟิร์ม สไตล์คุณแม่มือใหม่
คำแนะนำสำหรับการให้นมแม่ในทารกที่ได้รับการวินิจฉัย “แพ้” นมวัว
การผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่า ข้อไหล่ ดีอย่างไร?
การตรวจวิเคราะห์แรงกดใต้ฝ่าเท้า คืออะไร?
ดูแลลูกอย่างไร? เมื่อเป็นไข้หวัดหน้าร้อน
ฉีดสีท่อนำไข่ แก้ปัญหามีบุตรยาก มีขั้นตอนและการเตรียมตัวอย่างไร?
กระดูกสันหลังเสื่อม-ทรุด ส่งผลร้ายต่อการดำเนินชีวิต
งูสวัด ลดความรุนแรงและโอกาสเกิดซ้ำได้ ด้วยการฉีดวัคซีน
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.13 ไอโอดีน สำคัญกับหญิงตั้งครรภ์อย่างไร?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.12 เครื่องฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ จำเป็นไหม?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.11 วัคซีนก่อนตั้งครรภ์สำคัญไม่น้อย
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.10 ตั้งใจมีลูกแฝด ดีหรือไม่?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.9 ทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์ถึงชอบท้องผูก
บทความโดย
นายแพทย์ศิริชัย วิริยะธนากร
แพทย์อายุรกรรม-หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
แผนกอายุรกรรมหัวใจ ชั้น 2
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
โทร.02-594-0020 ต่อ 1248