การให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เพื่อลดการติดเชื้อหรือลดการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อแต่ละชนิดจะมีกำหนดการฉีดในแต่ละช่วงอายุ และมีตารางการนัดฉีดวัคซีนตามโปรแกรมของวัคซีนชนิดนั้นๆ ซึ่งควรให้ครบและตรงตามที่กำหนด
ผู้สูงอายุควรฉีดวัคซีนอะไรบ้าง ?
วัคซีนที่ผู้สูงอายุควรฉีดมีอะไรบ้าง แต่ละชนิดควรฉีดกี่ครั้ง กี่เข็ม มีข้อดีและผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง มีดังนี้
1. วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ชนิด 4 สายพันธุ์ (Influenza vaccine)
แม้ว่าการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่พบได้ในทุกช่วงวัย โดยทั่วไปการติดเชื้อไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรง ผู้ป่วยมักจะหายได้เองภายใน 3-5 วันหลังจากมีอาการของโรค แต่ในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน มักมีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงถึงขั้นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลและเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สูง รวมทั้งอัตราการเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ก็สูงตามไปด้วย
คำแนะนำ:
ผู้สูงอายุทุกคน ควรฉีดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากเชื้อไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ทุกปี โดยสามารถฉีดในช่วงก่อนมีการระบาด โดยในประเทศไทยมักระบาด 2 ช่วงคือช่วงฤดูฝน และช่วงฤดูหนาว ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิด Flu High-Dose สำหรับผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้นจากขนาดปกติถึง 24% และยังสามารถลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เกิดตามมาหลังการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยแนะนำให้ฉีด 1 เข็ม ปีละ 1 ครั้ง1
โดยสายพันธุ์ปี ค.ศ. 2024 (พ.ศ. 2567) Southern strain หรือ ซีกโลกไต้ ได้แก่
- ไวรัสชนิด A สายพันธุ์ Victoria (H1N1) (an A/Victoria/4897/2022 (H1N1) pdm09-like virus)
- ไวรัสชนิด A สายพันธุ์ Thailand (H3N2) (an A/Thailand/8/2022 (H3N2)-like virus)
- ไวรัสชนิด B สายพันธุ์ Austria (a B/Austria/1359417/2021 (B/Victoria lineage)-like virus)
- ไวรัสชนิด B สายพันธุ์ Phuket (a B/Phuket/3073/2013 (B/Yamagata lineage)-like virus)
2. วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบนิวโมคอคคัส (Pneumococcal vaccine)
โรคติดเชื้อจากแบคทีเรียนิวโมคอคคัส (Streptococcal Pneumoniae) เป็นสาเหตุการเกิดปอดอักเสบรุนแรงที่บ่อยสุดในผู้สูงอายุ แบคทีเรียนี้สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบหูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ ปอดอักเสบรุนแรง ไปจนถึงทำให้พิการและเสียชีวิตได้ การติดเชื้อในกระดูกและข้อ พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสแบบรุกรานได้ง่ายกว่าคนหนุ่มสาว การรับวัคซีนดังกล่าวจึงมีประโยชน์ช่วยลดความรุนแรงของโรคได้
โดยปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบนิวโมคอคคัส (Pneumococcal vaccine) สำหรับผู้สูงอายุจะมี 3 ชนิด ซึ่งครอบคลุมสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน ได้แก่
-
- วัคซีนชนิดคอนจูเกต 13 สายพันธุ์ (PCV13) ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรีย นิวโมคอคคัส13 สายพันธุ์ ที่ก่อให้เกิดโรคส่วนใหญ่
- วัคซีนชนิดคอนจูเกต 15 สายพันธุ์ (PCV15) ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรีย นิวโมคอคคัส 15 สายพันธุ์ มีเพิ่มมาอีก 2 สายพันธ์จาก13 สายพันธ์
- วัคซีนชนิดโพลีแซคคาไรด์ 23 สายพันธุ์ (PPSV-23) ที่ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรีย นิวโมคอคคัส 23 สายพันธุ์จากวัคซีน13/15สายพันธ์ที่ก่อให้เกิดโรคชนิดรุนแรง
คำแนะนำ :
ให้ฉีดแก่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
3. วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด (Herpes zoster)
โรคงูสวัด เกิดจากเชื้อไวรัส VZV ไวรัสโรคอีสุกอีใส เมื่อหายจากโรคอีสุกอีใสแล้ว เชื้อนี้จะหลบอยู่ในปมแระสาทร่างกายเรา เมื่อร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันลดลง อาจเกิดโรคงูสวัด โดยจะมีตุ่มน้ำใสขึ้นเป็นกระจุก ร่วมกับอาการปวดแสบปวดร้อนตามแนวเส้นประสาท แม้ตุ่มน้ำจะหายแล้ว อาการแสบร้อนยังคงอยู่ได้เป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปีลักษณะอาการปวดคลายไฟช๊อต ซึ่งรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมากนอกจากนี้อายุที่มากขึ้น การนอนไม่พอ มีภาวะเครียด ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการเป็นโรคงูสวัด ในกรณีที่เป็นบริเวณตา อาจทำให้ตาบอดได้ จากการศึกษาในประเทศUSAพบ1ใน3คนจะเป็นงูสวัดในช่วงชีวิต
คำแนะนำ:
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดชนิดใหม่ มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคงูสวัดมากกว่า 90% โดยฉีดจำนวน 2 เข็ม ขนาด 0.5 มล. เข้ากล้ามเนื้อ ห่างกัน 2-6 เดือน ในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุ เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคงูสวัดมากกว่าหนุ่มสาว10เท่า ผู้ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน และผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต เนื่องจากคนกลุ่มนี้หากป่วยด้วยโรคงูสวัดจะมีอาการรุนแรงมากกว่าคนปกติ
ผู้สูงอายุควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เมื่อมารับวัคซีน
ข้อระวังในการเลี่ยงการฉีดวัคซีน
- หากมีอาการป่วย หรือมีไข้สูงควรเลี่ยงการฉีดวัคซีน
- หากมีการแพ้อาหาร แพ้ยา หรือมีโรคประจำตัวต้องแจ้งก่อนฉีดทุกครั้ง
4. วัคซีน RSV
โรคงูสวัด เกิดจากเชื้อไวรัส VZV ไวรัสโรคอีสุกอีใส เมื่อหายจากโรคอีสุกอีใสแล้ว เชื้อนี้จะหลบอยู่ในปมแระสาทร่างกายเรา เมื่อร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันลดลง อาจเกิดโรคงูสวัด โดยจะมีตุ่มน้ำใสขึ้นเป็นกระจุก ร่วมกับอาการปวดแสบปวดร้อนตามแนวเส้นประสาท แม้ตุ่มน้ำจะหายแล้ว อาการแสบร้อนยังคงอยู่ได้เป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปีลักษณะอาการปวดคลายไฟช๊อต ซึ่งรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมากนอกจากนี้อายุที่มากขึ้น การนอนไม่พอ มีภาวะเครียด ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการเป็นโรคงูสวัด ในกรณีที่เป็นบริเวณตา อาจทำให้ตาบอดได้ จากการศึกษาในประเทศUSAพบ1ใน3คนจะเป็นงูสวัดในช่วงชีวิต
โรค RSV (Respiratory Syncytial Virus) เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก แต่ปัจจุบันพบว่าไวรัสชนิดนี้สามารถส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแออย่างรุนแรงเช่นกัน
อาการของโรค RSV
ผู้สูงอายุและกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวนั้นเสี่ยงต่อการเป็น RSV ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป โดยส่วนใหญ่อาการของ RSV จะมีลักษณะคล้ายกับอาการของหวัดใหญ่ สามารถสังเกตอาการของตนเองได้ดังนี้
- มีไข้
- ไอเรื้อรัง
- หายใจลำบาก
- หายใจสั้นและเร็ว
- เสมหะมากขึ้น
- เหนื่อยล้าและอ่อนแรง
ข้อแนะนำในการฉีดวัคซีน RSV
- แนะนำให้ Arexvy ห่างจากวัคซีนอื่นๆ 2สัปดาห์ ยังไม่มียารกษาจำเพาะ (ยาต้านไวรัสRSV)
- ควรพักดูอาการเพื่อสังเกตอาการแพ้หลังการฉีดวัคซีน
- ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปในผู้ที่มีไข้สูงอย่างเฉียบพลันรุนแรง แต่ไม่จำาเป็นต้องเลื่อนการฉีดวัคซีนในกรณีที่มีการติดเชื้อเล็กน้อย เช่น ไข้หวัด
- เช่นเดียวกับวัคซีนอื่น ๆ การกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มเพื่อป้องกันอาจเกิดขึ้นในผู้รับวัคซีนบางคน ไม่ใช่ทุกคน
- ควรสังเกตปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวล รวมถึงอาการหมดสติ(เป็นลม) การหายใจหอบถี่ หรือปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับความเครียดที่อาจเกิดขึ้นในขั้นตอนการฉีดวัคซีน ดังนั้น ต้องระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บจากการเป็นลม
ผู้ที่อายุ>75ปีและผู้ที่อาย >60ปี มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรค RSV รุนแรง เช่นโรคปอดเรื้อรัง , โรคหลอดเลือดและหัวใจเรื้อรัง , ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคอ้วนชนิดรุนแรง BMI >90kg/m ควรรับวัคซีน RSV อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุที่ต้องการฉีดวัคซีนควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเข้ารับการฉีด เพื่อรับการตรวจร่างกายเบื้องต้น พร้อมรับคำแนะนำเกี่ยวกับข้อบ่งชี้และข้อห้ามของวัคซีนแต่ละตัว เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการป้องกันจากการฉีดวัคซีนอย่างสูงสุด
บทความโดยนายแพทย์ ชลทรัพย์ แชมาร์ แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ การเดินทางและท่องเที่ยวและอายุรศาสตร์เขตร้อน โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
แพ็กเกจแนะนำ
บทความสุขภาพอื่นๆ
VDO ความรู้สุขภาพ
บทความโดย
นายแพทย์ ชลทรัพย์ แชมาร์
แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ การเดินทางและท่องเที่ยวและอายุรศาสตร์เขตร้อน โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
แผนกตรวจสุขภาพ ชั้น 2
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
โทร. 02-594-0020 ต่อ 1276 , 1277