เนื่องจากความรู้ด้านการแพทย์มีความก้าวหน้าและพัฒนามากขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าวิจัยที่มีมาอย่างต่อเนื่อง การรักษาโรคมะเร็งเต้านมจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยก่อนเป็นอย่างมาก ทั้งในแง่ของการเลือกวิธีการผ่าตัด ลำดับการรักษา และยาที่ใช้รักษาร่วม
สำหรับโรคมะเร็งเต้านม ระยะ ณ ขณะที่ได้รับการวินิจฉัยแรกจะเป็นสิ่งที่กำหนดเป้าหมายของการรักษา หากขณะนั้นผู้ป่วยอยู่ในระยะที่1-3 เป้าหมายของการรักษาคือหวังหายขาดจากตัวโรค(curative intent) โดยมีอัตราส่วนแปรผันมากน้อยตามระยะที่ตรวจพบ ถ้าตรวจพบระยะต้นจะมีโอกาสหายขาดมากกว่าระยะหลังๆ ในขณะที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมในระยะที่4 ซึ่งเป็นระยะแพร่กระจาย เป้าหมายของการรักษาจะไม่ใช่การหวังหายขาด แต่เป็นการรักษาแบบประคับประคอง (palliative treatment) ด้วยยา หรือการรักษาร่วมอื่นเพื่อประคองไม่ให้ตัวมะเร็งทำร้ายร่างกายผู้ป่วยเร็วเกินไป ให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบายเท่าที่จะสามารถทำได้
การรักษาโรคมะเร็งเต้านมในระยะที่1-3 จะประกอบด้วยการรักษาร่วมหลายวิธี ตั้งแต่
- การผ่าตัด ยังคงเป็นการรักษาหลักของโรคมะเร็งเต้านมที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องรับ เพียงแต่ไม่ใช่ผู้ป่วยทุกรายที่จะต้องตัดเต้านมทิ้งทั้งเต้าเสมอไป ผู้ป่วยจำนวนมากยังสามารถเลือกการผ่าตัดแบบสงวนเต้า(breast conserving surgery) ร่วมกับการฉายแสง(radiation therapy)ซึ่งให้ผลลัพธ์ในเรื่องความปลอดภัยและการหายขาดจากตัวโรคไม่แตกต่างไปจากการตัดเต้านมออกทั้งเต้า หรือหากผู้ป่วยบางรายไม่สามารถผ่าตัดแบบสงวนเต้านมได้ ก็ยังสามารถผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ได้ อาจใช้ซิลิโคนเสริม หรือนำเนื้อเยื่อของตนเองผ่าตัดโยกย้ายมาทำเป็นเต้านมใหม่ การผ่าตัดแบบสงวนเต้าและการผ่าตัดสร้างเสริมเต้าสมจะมีส่วนช่วยผู้ป่วยในเรื่องของภาพลักษณ์และความมั่นใจ
- ยาเคมีบำบัด มีบทบาทมากสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม สามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิต ลดการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ รวมถึงในผู้ป่วยที่ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับเต้านม แต่ต้องการผ่าตัดรักษาแบบสงวนเต้า การรับยาเคมีบำบัดก่อนผ่าตัดจะช่วยลดขนาดก้อนมะเร็ง เพิ่มโอกาสในการผ่าตัดสงวนเต้าได้
- ยามุ่งเป้า เป็นยาที่มีกลไกจับกับตัวรับพิเศษในมะเร็งเต้านมบางชนิด พัฒนามาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ทั้งเพิ่มอัตราการรอดชีวิตและลดอัตราการกลับเป็นซ้ำของโรคมะเร็ง
- ยาภูมิคุ้มกันบำบัด เป็นยาที่ออกฤทธิ์เกี่ยวพันกับภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็งเต้านม
- ยาต้านฮอร์โมน มีข้อบ่งชี้เฉพาะผู้ป่วยที่ตัวมะเร็งมีตัวรับฮอร์โมนเป็นบวก จะต้องรับประทานยาติดต่อกัน5-10ปี ตามแต่ข้อบ่งชี้ของผู้ป่วยแต่ละราย
- รังสีรักษา คือการฉายแสงเข้าที่เต้านม และ/หรือต่อมน้ำเหลืองในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ มีประโยชน์ในการเพิ่มโอกาสการหายขาดจากโรคมะเร็ง
การรักษาอื่นในแง่ของการใช้ยาสมุนไพร อาหารเสริมบำรุง ณ ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่ได้มาตรฐานรับรองผลการรักษาและความปลอดภัยชัดเจน
บทความโดย แพทย์หญิง พีรดา ภูมิสมบัติ แพทย์ผู้ชานาญการด้านศัลยกรรม-เต้านม โรงพยบาลเกษมราษฎรื อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิบศร์
แพ็กเกจแนะนำ
Promotion ตรวจมะเร็งเต้านม ด้วย Digital Mammogram
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันไวรัส RSV สำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
กิจกรรมคลอดคุณแม่คุณภาพ ประจำปี 2567
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพประจำปี 2567
แพ็กเกจ ตรวจหัวใจ คนไทยและต่างชาติ
บริการทันตกรรมสิทธิ์ประกันสังคม (ไม่ต้องสำรองจ่าย)
แพ็กเกจ ตรวจการนอนกรน Sleep Test
แพ็กเกจ ตรวจ อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง Abdomen Ultrasound
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพ Birthday Privileges
แพ็กเกจตรวจ Covid-19 และไข้หวัดใหญ่ แบบ RT-PCR
แพ็กเกจ ฝากครรภ์คุณภาพ
แพ็กเกจ โปรแกรม ฝังเข็ม ระงับปวด Office Syndrome
แพ็กเกจ ตรวจฟัน เคลือบฟลูออไรด์ สำหรับเด็ก
แพ็กเกจ ฉีดสีท่อนำไข่ Hysterosalpingography
แพ็กเกจ IUI ฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูก
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร
แพ็กเกจ ตรวจไข้เลือดออก
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
แพ็กเกจ ตรวจมะเร็งเต้านม ด้วย Digital Mammogram
แพ็กเกจ โปรแกรมฝากไข่ Oocyte Freezing
บทความสุขภาพอื่นๆ
รู้จัก โรค RSV ภัยร้าย ที่ผู้สูงอายุไม่ควรมองข้าม
9 โรค พบบ่อยในผู้สูงอายุ ที่ควรรู้ เพื่อป้องกันไว้ก่อนดีกว่าแก้
“ก้มเล่นมือถือ” เป็นเวลานาน พฤติกรรมเสี่ยงกระดูกคอเสื่อม
โรคไข้หวัดใหญ่คืออะไร?
การสวนหัวใจและหลอดเลือด
คลอดธรรมชาติ กับ ผ่าคลอด แบบไหนดีกว่ากัน ?
การตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery calcium scoring) คืออะไร ?
มวลกระดูกคืออะไร ทำไมต้องตรวจ ?
โรคฝีดาษลิง หรือ Mpox โรคอุบัติใหม่ที่ไม่ควรมองข้าม
ตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีสำคัญอย่างไร
พฤติกรรมแบบไหน…เสี่ยง! เป็นโรคตับ
“โรคอ้วนในเด็ก” ความน่ารักที่แฝงด้วยอันตราย‼
มะเร็งปอดใกล้ตัวกว่าที่คิด มาทำความรู้จักกับโรคมะเร็งปอด
ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ ป้องกันได้มากว่าปอดอักเสบ
การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องข้อเข่า เทคโนโลยีทันสมัย (Arthroscopic Surgery)
แนวทางการรักษาโรคมะเร็งเต้านมในปัจจุบัน
กระดูกสันหลังเสื่อมทรุด ส่งผลร้ายต่อกันดำเนินชีวิต
ตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีสำคัญอย่างไร
ท้องตอนอายุมาก เสี่ยงอย่างไร
VDO ความรู้สุขภาพ
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.19 อาการปวดหัวช่วงตั้งครรภ์…แก้อย่างไรดี?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.18 ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้มั้ย?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.17 ลูกในครรภ์น้ำหนักตกเกณฑ์ กังวลมากเลย
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.16 คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องผูกมาก แก้ยังไงดี?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.15 ใครเสี่ยงบ้าง? ภาวะครรภ์เป็นพิษขณะตั้งครรภ์
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.14 ฟิต&เฟิร์ม สไตล์คุณแม่มือใหม่
คำแนะนำสำหรับการให้นมแม่ในทารกที่ได้รับการวินิจฉัย “แพ้” นมวัว
การผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่า ข้อไหล่ ดีอย่างไร?
การตรวจวิเคราะห์แรงกดใต้ฝ่าเท้า คืออะไร?
ดูแลลูกอย่างไร? เมื่อเป็นไข้หวัดหน้าร้อน
ฉีดสีท่อนำไข่ แก้ปัญหามีบุตรยาก มีขั้นตอนและการเตรียมตัวอย่างไร?
กระดูกสันหลังเสื่อม-ทรุด ส่งผลร้ายต่อการดำเนินชีวิต
งูสวัด ลดความรุนแรงและโอกาสเกิดซ้ำได้ ด้วยการฉีดวัคซีน
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.13 ไอโอดีน สำคัญกับหญิงตั้งครรภ์อย่างไร?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.12 เครื่องฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ จำเป็นไหม?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.11 วัคซีนก่อนตั้งครรภ์สำคัญไม่น้อย
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.10 ตั้งใจมีลูกแฝด ดีหรือไม่?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.9 ทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์ถึงชอบท้องผูก
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.8 ท้องแข็งแบบต่างๆแยกแบบใด แบบไหนลูกโก่งตัว แบบไหนมดลูกบีบ แบบไหนใกล้คลอด
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.7 คนท้องนอนท่าไหน ไม่ทับลูกไม่ปวดเอว
บทความโดย
แพทย์หญิง พีรดา ภูมิสมบัติ
แพทย์ผู้ชานาญการด้านศัลยกรรม-เต้านม โรงพยบาลเกษมราษฎรื อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิบศร์
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
แผนกศัลยกรรม ชั้น 1
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
โทร.02-594-0020 ต่อ 1118 / 1119