การป้องกัน โรคในผู้สูงอายุ เป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากร่างกายเสื่อมลงตามวัย การดูแลสุขภาพจึงควรเน้นการป้องกันและจัดการกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ต่อไปนี้คือ 9 โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและควรใส่ใจ
รู้เท่าทัน ป้องกันไว้ก่อน! 9 โรคในผู้สูงอายุ ที่พบบ่อย มีอะไรบ้าง?
1. โรคหัวใจและหลอดเลือด
เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และหลอดเลือดตีบตัน ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจและอัมพฤกษ์อัมพาต ควรป้องกันด้วยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ1ครั้ง
2. โรคเบาหวาน
ผู้สูงอายุมักมีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเป็นสิ่งสำคัญ โรคนี้เป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน ก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ปัสสาวะและกระหายน้ำบ่อย ดื่มน้ำในปริมาณมากต่อครั้ง อ่อนเพลีย ควรตรวจระดับน้ำตาลเป็นประจำและปรับพฤติกรรมการทานอาหาร
3. โรคข้อเสื่อม
เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนบริเวณข้อ ทำให้เกิดการปวดและข้อแข็ง การออกกำลังกายเบา ๆ เช่น การเดินหรือยืดเส้นยืดสายสามารถช่วยลดความเสี่ยงได้ ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไปหลีกเลี่ยงการฉุดกระชาก บริเวณข้อ หลีกเลี่ยงการยืน หรือนั่งพับเพียบ ย่อเข่านานๆ และเลือกทานอาหารที่ช่วยบำรุงข้อเข่า เช่น แคลเซียม กินผักเป็นประจำ เป็นต้น
4. โรคกระดูกพรุน
เป็นอาการป่วยที่พบได้มากขึ้นตามวัย แต่น้อยคนที่จะรู้ว่าตัวเองมีภาวะกระดูกพรุน กว่าจะทราบก็เมื่อหกล้มกระดูกหักแล้ว ส่วนใหญ่พบได้ในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน และผู้ชายอายุมากกว่า 70 ปี การบริโภคแคลเซียมและวิตามินดี รวมถึงการออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อจะช่วยป้องกัน ควรได้รับแคลเซียมจากอาหาร หรือยาอย่างน้อย 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
5. โรคมะเร็ง
ผู้สูงอายุมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมากขึ้น เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม ควรตรวจเช็คสุขภาพอย่างสม่ำเสมอและลดปัจจัยเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ และการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
6. โรคอัลไซเมอร์
เป็นโรคที่ทำให้ความจำเสื่อมและส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง ควรส่งเสริมการเรียนรู้ เช่น การอ่านหนังสือ เรียนภาษา การเล่นเกมฝึกสมอง รวมถึงการเข้าสังคมเพื่อป้องกันการเสื่อมของสมอง มีวิจัยว่าคนในเมืองบ้านที่อยู่ติดรถไฟฟ้ามีความเสี่ยงเป็น โรคอัลไซเมอร์ สูงกว่าคนทั่วไป
7. โรคปอดและระบบทางเดินหายใจ
โรคถุงลมโป่งพองและโรคปอดเรื้อรังเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และรักษาความสะอาดในบ้านเพื่อป้องกัน
8. โรคตา
การเสื่อมสภาพของสายตาในผู้สูงอายุทำให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม โรคต้อกระจก โรคต้อหิน และน้ำวุ้นตาเสื่อม แต่สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคตาเกิดจากความเสื่อม เนื่องจากอายุที่มากขึ้น ทำให้การมองเห็นลดลง ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ พักผ่อนสายตาบ่อย ๆ สวมแว่นกันแดดที่กรองแสง Ultra Violet และตรวจสุขภาพตาเป็นประจำสามารถช่วยป้องกันและรักษาได้ในระยะแรก
9. ภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล
ผู้สูงอายุอาจประสบกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิตและการสูญเสีย การพูดคุยและการเข้าสังคมสามารถช่วยป้องกันภาวะเหล่านี้ได้
5 วิธีส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคเมื่อต้องเข้าสู่สูงวัย
1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
โดยเน้นไปที่การออกกำลังกายแบบง่าย ๆ เป็นประจำทุกวัน เช่น การเดินเร็ว การแกว่งแขน ทำงานบ้าน เป็นต้น เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงตามวัย และยังเป็นการป้องกันโรคชราภาพได้ในอนาคตอีกด้วย
2. การมีภาวะโภชนการที่เหมาะสม
เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย “You are what you eat” คำกล่าวนี้เป็นจริงเสมอมา เพราะสิ่งต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรานั้น ล้วนมาจากอาหารที่เรากินเข้าไป
3. ตรวจสุขภาพประจำปีอยู่เสมอ
อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือทุก 6 เดือน และอย่าลืมรักษาสุขภาพในช่องปาก พบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
4. การมีสุขภาพจิตที่ดี
สุขภาพกายดีแล้ว สุขภาพจิตก็ต้องดีด้วย เพราะเมื่อชราภาพไป สภาพจิตใจอาจไม่แข็งแรงแบบตอนหนุ่มสาว จะแก้ไขก็ลำบาก
5. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ร่างกายต้องป่วยเรื้อรัง
เช่น การหกล้มโดยเฉพาะในห้องน้ำ, การใช้ยาเกินขนาด และใช้ยาผิดวิธี, ปล่อยตัวเองให้มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จนเป็นโรคอ้วนเรื้อรัง เป็นต้น
บทความโดยนายแพทย์ ชลทรัพย์ แชมาร์ แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ การเดินทางและท่องเที่ยวและอายุรศาสตร์เขตร้อน โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
แพ็กเกจแนะนำ
Promotion ตรวจมะเร็งเต้านม ด้วย Digital Mammogram
แพ็กเกจวัคซีนป้องกันไวรัส RSV สำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
กิจกรรมคลอดคุณแม่คุณภาพ ประจำปี 2567
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพประจำปี 2567
แพ็กเกจ ตรวจหัวใจ คนไทยและต่างชาติ
บริการทันตกรรมสิทธิ์ประกันสังคม (ไม่ต้องสำรองจ่าย)
แพ็กเกจ ตรวจการนอนกรน Sleep Test
แพ็กเกจ ตรวจ อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง Abdomen Ultrasound
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพ Birthday Privileges
แพ็กเกจตรวจ Covid-19 และไข้หวัดใหญ่ แบบ RT-PCR
แพ็กเกจ ฝากครรภ์คุณภาพ
แพ็กเกจ โปรแกรม ฝังเข็ม ระงับปวด Office Syndrome
แพ็กเกจ ตรวจฟัน เคลือบฟลูออไรด์ สำหรับเด็ก
แพ็กเกจ ฉีดสีท่อนำไข่ Hysterosalpingography
แพ็กเกจ IUI ฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูก
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร
แพ็กเกจ ตรวจไข้เลือดออก
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
แพ็กเกจ ตรวจมะเร็งเต้านม ด้วย Digital Mammogram
แพ็กเกจ โปรแกรมฝากไข่ Oocyte Freezing
บทความสุขภาพอื่นๆ
9 โรค พบบ่อยในผู้สูงอายุ ที่ควรรู้ เพื่อป้องกันไว้ก่อนดีกว่าแก้
“ก้มเล่นมือถือ” เป็นเวลานาน พฤติกรรมเสี่ยงกระดูกคอเสื่อม
โรคไข้หวัดใหญ่คืออะไร?
การสวนหัวใจและหลอดเลือด
คลอดธรรมชาติ กับ ผ่าคลอด แบบไหนดีกว่ากัน ?
การตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery calcium scoring) คืออะไร ?
มวลกระดูกคืออะไร ทำไมต้องตรวจ ?
โรคฝีดาษลิง หรือ Mpox โรคอุบัติใหม่ที่ไม่ควรมองข้าม
ตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีสำคัญอย่างไร
พฤติกรรมแบบไหน…เสี่ยง! เป็นโรคตับ
“โรคอ้วนในเด็ก” ความน่ารักที่แฝงด้วยอันตราย‼
มะเร็งปอดใกล้ตัวกว่าที่คิด มาทำความรู้จักกับโรคมะเร็งปอด
ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ ป้องกันได้มากว่าปอดอักเสบ
การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องข้อเข่า เทคโนโลยีทันสมัย (Arthroscopic Surgery)
แนวทางการรักษาโรคมะเร็งเต้านมในปัจจุบัน
กระดูกสันหลังเสื่อมทรุด ส่งผลร้ายต่อกันดำเนินชีวิต
ตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีสำคัญอย่างไร
ท้องตอนอายุมาก เสี่ยงอย่างไร
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ ป้องกันได้มากกว่าปอดอักเสบ (Pneumococcal vaccine)
VDO ความรู้สุขภาพ
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.19 อาการปวดหัวช่วงตั้งครรภ์…แก้อย่างไรดี?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.18 ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้มั้ย?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.17 ลูกในครรภ์น้ำหนักตกเกณฑ์ กังวลมากเลย
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.16 คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องผูกมาก แก้ยังไงดี?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.15 ใครเสี่ยงบ้าง? ภาวะครรภ์เป็นพิษขณะตั้งครรภ์
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.14 ฟิต&เฟิร์ม สไตล์คุณแม่มือใหม่
คำแนะนำสำหรับการให้นมแม่ในทารกที่ได้รับการวินิจฉัย “แพ้” นมวัว
การผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่า ข้อไหล่ ดีอย่างไร?
การตรวจวิเคราะห์แรงกดใต้ฝ่าเท้า คืออะไร?
ดูแลลูกอย่างไร? เมื่อเป็นไข้หวัดหน้าร้อน
ฉีดสีท่อนำไข่ แก้ปัญหามีบุตรยาก มีขั้นตอนและการเตรียมตัวอย่างไร?
กระดูกสันหลังเสื่อม-ทรุด ส่งผลร้ายต่อการดำเนินชีวิต
งูสวัด ลดความรุนแรงและโอกาสเกิดซ้ำได้ ด้วยการฉีดวัคซีน
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.13 ไอโอดีน สำคัญกับหญิงตั้งครรภ์อย่างไร?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.12 เครื่องฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ จำเป็นไหม?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.11 วัคซีนก่อนตั้งครรภ์สำคัญไม่น้อย
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.10 ตั้งใจมีลูกแฝด ดีหรือไม่?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.9 ทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์ถึงชอบท้องผูก
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.8 ท้องแข็งแบบต่างๆแยกแบบใด แบบไหนลูกโก่งตัว แบบไหนมดลูกบีบ แบบไหนใกล้คลอด
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.7 คนท้องนอนท่าไหน ไม่ทับลูกไม่ปวดเอว
บทความโดย
นายแพทย์ ชลทรัพย์ แชมาร์
แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ การเดินทางและท่องเที่ยวและอายุรศาสตร์เขตร้อน โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
แผนกตรวจสุขภาพ ชั้น 2
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
โทร. 02-594-0020 ต่อ 1276 , 1277