ปัจจุบันหนุ่มสาวยุคใหม่มีแนวโน้มแต่งงานช้า หรือแต่งงานตอนมีอายุมากขึ้น ทำให้ปัญหาที่ตามมาคือการมีลูกตอนอายุมาก อาจส่งผลให้มีบุตรยาก หรือมีปัญหาด้านอื่นๆ ซึ่งหากตั้งครรภ์ตอนอายุมากแล้วควรปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะปลอดภัย
มีลูกตอนอายุมากเสี่ยงแค่ไหน
เมื่ออายุมากขึ้นเซลล์ไข่ของผู้หญิงจะมีโอกาสเสื่อมสภาพลง (Programmed Cell Dead) หรือค่อย ๆ ฝ่อตัวลงไปตามอายุที่มากขึ้น ทำให้จำนวนไข่ หรือคุณภาพของไข่ที่ออกมาลดลง ส่งผลให้มีโอกาสเกิดการปฏิสนธิกับอสุจิได้น้อยลงตามไปด้วย และหากมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธินั้นอาจเสี่ยงต่อการแบ่งเซลล์ที่ผิดปกติ ตัวอ่อนอาจไม่ฝังตัวเพิ่มโอกาสแท้งลูกสูง รวมถึงอาจมีความเสี่ยงเรื่องโรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ต่าง ๆ เช่น เบาหวาน คลอดก่อนกำหนด และครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น
โรคทางพันธุกรรมที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง ได้แก่
ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 ตัว ตัวอ่อนจึงเกิดความบกพร่องทางสติปัญญา และจะมีรูปร่างหน้าตาที่ผิดปกติ เช่น ตัวเตี้ย ศีรษะเล็ก ตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ใบหูเล็ก และต่ำ เป็นต้น โดยหญิงที่ตั้งครรภ์ตอนมีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไปมีโอกาสที่ลูกจะเป็นดาวน์ซินโดรมค่อนข้างมาก ( 1 ใน 350 ) หากยิ่งตั้งครรภ์อายุมากขึ้นก็จะยิ่งมีความมีความเสี่ยงสูงมากขึ้น
ธาลัสซีเมีย ( Thalassemia) เป็นโรคติดต่อทางพันธุกรรมที่เกิดจากเม็ดเลือดผิดปกติ ทำให้เม็ดเลือดแดงอายุสั้น เปราะ แตก และถูกทำลายง่าย ส่งผลให้ลูกมีอาการตัวซีด ตัวเหลือง ตาเหลือง และอาจเกิดการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ
ภาวะแทรกซ้อนของคุณแม่และลูกน้อย
นอกจากความผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซมแล้วยังมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นคุณแม่และลูกน้อยได้ด้วย ดังนี้
เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากในช่วงตั้งท้อง ร่างกายจะนำอินซูลินไปใช้ได้ไม่เต็มที่จึงอาจทำให้ระบบควบคุมน้ำตาลในเลือดผิดปกติจนเกิดโรคเบาหวานตามมา
ครรภ์เป็นพิษ คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ตอนอายุมากจะเสี่ยงต่อการเป็นความดันโลหิตสูงร่วมกับการเกิดภาวะโปรตีนสูงในปัสสาวะ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลให้เกิดภาวะอันตรายกับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ได้
ท้องนอกมดลูก เป็นการตั้งครรภ์ผิดปกติที่ตัวอ่อนฝังตัวนอกโพรงมดลูก ตัวอ่อนจึงไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ซึ่งอาจมีผลเสียต่อท่อนำไข่และอาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
การเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis) วิธีการตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์
เป็นวิธีการตรวจ โดยจะใช้เข็มขนาดเล็กเจาะเข้าไปเพื่อดูดน้ำคร่ำที่ห่อหุ้มทารก แล้วนำมาตรวจหาความผิดปกติ โดยจะสามารถตรวจโรคต่าง ๆ รวมถึงปัญหาในการตั้งครรภ์ได้ ดังนี้
โรคที่เกี่ยวข้องกับโครโมโซม เช่น ดาวน์ซินโดรม , พาทัวซินโดรม (Patua syndrome = โครโมโซมคู่ที่13 เกิน )เทอเนอร์ซินโดรม (Turner syndrome = โครโมโซมเพศค่าผิดปกติ XO ) , เอ็ดเวิร์ดซินโดรม (Edward’s Syndrome = โครโมโซม คู่ที่ 18 เกิน) เป็นต้น
โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น
ปัญหาในการตั้งครรภ์ สามารถตรวจดูความแข็งแรงของครรภ์ และความเสี่ยงอื่น ๆ ได้
ตั้งครรภ์ตอนอายุมากควรปฏิบัติตัวอย่างไรให้ปลอดภัย
ปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการตั้งครรภ์ รวมถึงเข้ารับการตรวจสุขภาพ และตรวจหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอประมาณ 8-10 ชั่วโมง และหาเวลางีบพักในช่วงบ่ายอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก หรือทำกิจกรรมที่ใช้กำลังมาก
ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เช่น กาแฟ หรือน้ำอัดลม
ควรเพิ่มการรับประทานอาหารที่มีวิตามินโฟลิก เช่น ผักโขม ตับ ข้าวซ้อมมือ นม ไข่ เพราะมีส่วนช่วยต่อระบบโครงสร้างสมองของทารก และลดความพิการทางสมองได้
การตั้งครรภ์สำหรับผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีนั้นเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงจึงต้องฝากครรภ์ และหมั่นพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อแม่และลูกนั่นเอง
แพ็กเกจแนะนำ
Promotion Heart Sale 9.9 โปรแกรมตรวจสุขภาพหัวใจ
แพ็กเกจวัคซีนป้องกันไวรัส RSV สำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
กิจกรรมคลอดคุณแม่คุณภาพ ประจำปี 2567
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพประจำปี 2567
แพ็กเกจ ตรวจหัวใจ คนไทยและต่างชาติ
บริการทันตกรรมสิทธิ์ประกันสังคม (ไม่ต้องสำรองจ่าย)
แพ็กเกจ ตรวจการนอนกรน Sleep Test
แพ็กเกจ ตรวจช่องท้องโดยการอัลตร้าซาวด์ Abdomen Ultrasound
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพ Birthday Privileges
แพ็กเกจตรวจ Covid-19 และไข้หวัดใหญ่ แบบ RT-PCR
แพ็กเกจ ฝากครรภ์คุณภาพ
แพ็กเกจ โปรแกรมฝังเข็มระงับปวด Office Syndrome
แพ็กเกจ IUI ฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูก
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร
แพ็กเกจ ตรวจไข้เลือดออก
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
แพ็กเกจ ตรวจมะเร็งเต้านม ด้วย Digital Mammogram
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพคู่รัก ไม่แยกเพศ
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพเพื่ออนุญาตทำงาน Work permit
บทความสุขภาพอื่นๆ
การสวนหัวใจและหลอดเลือด
คลอดธรรมชาติ กับ ผ่าคลอด แบบไหนดีกว่ากัน ?
การตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery calcium scoring) คืออะไร ?
มวลกระดูกคืออะไร ทำไมต้องตรวจ ?
โรคฝีดาษลิง หรือ Mpox โรคอุบัติใหม่ที่ไม่ควรมองข้าม
พฤติกรรมแบบไหน…เสี่ยง! เป็นโรคตับ
“โรคอ้วนในเด็ก” ความน่ารักที่แฝงด้วยอันตราย‼
มะเร็งปอดใกล้ตัวกว่าที่คิด มาทำความรู้จักกับโรคมะเร็งปอด
ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ ป้องกันได้มากว่าปอดอักเสบ
การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องข้อเข่า เทคโนโลยีทันสมัย (Arthroscopic Surgery)
แนวทางการรักษาโรคมะเร็งเต้านมในปัจจุบัน
กระดูกสันหลังเสื่อมทรุด ส่งผลร้ายต่อกันดำเนินชีวิต
ตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีสำคัญอย่างไร
ท้องตอนอายุมาก เสี่ยงอย่างไร
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ ป้องกันได้มากกว่าปอดอักเสบ (Pneumococcal vaccine)
อาการอัลไซเมอร์ ต้นเหตุของภาวะสมองเสื่อม ที่เป็นมากกว่าการหลงลืม
RSV โรคร้ายที่คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าระวัง
การนอนหลับไม่เพียงพอ เป็นสัญญาณอันตราย!
เชื้อ H. Pylori เป็นเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร
VDO ความรู้สุขภาพ
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.16 คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องผูกมาก แก้ยังไงดี?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.15 ใครเสี่ยงบ้าง? ภาวะครรภ์เป็นพิษขณะตั้งครรภ์
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.14 ฟิต&เฟิร์ม สไตล์คุณแม่มือใหม่
คำแนะนำสำหรับการให้นมแม่ในทารกที่ได้รับการวินิจฉัย “แพ้” นมวัว
การผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่า ข้อไหล่ ดีอย่างไร?
การตรวจวิเคราะห์แรงกดใต้ฝ่าเท้า คืออะไร?
ดูแลลูกอย่างไร? เมื่อเป็นไข้หวัดหน้าร้อน
ฉีดสีท่อนำไข่ แก้ปัญหามีบุตรยาก มีขั้นตอนและการเตรียมตัวอย่างไร?
กระดูกสันหลังเสื่อม-ทรุด ส่งผลร้ายต่อการดำเนินชีวิต
งูสวัด ลดความรุนแรงและโอกาสเกิดซ้ำได้ ด้วยการฉีดวัคซีน
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.13 ไอโอดีน สำคัญกับหญิงตั้งครรภ์อย่างไร?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.12 เครื่องฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ จำเป็นไหม?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.11 วัคซีนก่อนตั้งครรภ์สำคัญไม่น้อย
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.10 ตั้งใจมีลูกแฝด ดีหรือไม่?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.9 ทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์ถึงชอบท้องผูก
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.8 ท้องแข็งแบบต่างๆแยกแบบใด แบบไหนลูกโก่งตัว แบบไหนมดลูกบีบ แบบไหนใกล้คลอด
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.7 คนท้องนอนท่าไหน ไม่ทับลูกไม่ปวดเอว
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.6 ควรตรวจครรภ์ตอนไหน ตรวจยังไงถึงได้ประสิทธิภาพแม่นยำที่สุด
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.5 ไขข้อสงสัยอัลตราซาวนด์ ทารกในครรภ์ แต่ละแบบต่างกันอย่างไร
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.4 ภาวะดาวน์ซินโดรมคุณแม่มือใหม่ควรรู้
บทความโดย
แพทย์หญิงชลธิดา เอี่ยมสำอาง
ผู้ชำนาญการด้านสูตินรีเวช
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
แผนกสูตินรีเวช ชั้น 3
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นเเนล รัตนาธิเบศร์
โทร . 02 -594-0020 ต่อ 1320 , 1321