หากมีอาการปวดรุนแรง ปวดเรื้อรัง บวม แดง กดเจ็บ บริเวณข้อเข่า ข้อไหล่ เส้นเอ็น ขยับไม่ได้ เดินไม่ได้ ปวดเวลานอน กระทบต่อชีวิตประจำวัน นั่นอาจไม่ใช่เรื่องปกติ เพราะอาจมีภาวะเอ็นเข่าขาด เอ็นข้อไหล่ฉีกขาด หรือภาวะผิดปกติอื่นๆ ที่เกิดภายในข้อได้ ซึ่งภาวะดังกล่าวถือว่าต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน โดยหนึ่งในวิธีการรักษานั้นคือ “การผ่าตัดส่องกล้องข้อ (Arthroscopic Surgery)” จะช่วยให้ผู้ป่วยเจ็บน้อย ด้วยขนาดของแผลผ่าตัดที่เล็กลง พักฟื้นเพียงไม่นานก็สามารถกลับบ้านได้ไวขึ้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้เร็วขึ้น
ปัญหาข้อและเอ็นใดบ้างที่รักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง
1. การผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่าใช้ได้กรณีดังต่อไปนี้
- เส้นเอ็นเข่าขาด, หมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาด, เอ็นไขว้หน้าเอนไข้วหลังเข่าขาด จากการเล่นกีฬาฟุตบอล หรือจากการประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ การพลัดตกหกล้มจากที่สูง การตกบันได เป็นต้น
- กระดูกอ่อนผิวข้อแตก สามารถใช้การผ่าตัดส่องกล้องเข่าในการปรับสภาพผิวข้อ รวมถึงการปลูกถ่ายกระดูกอ่อนผิวข้อ
- ภาวะข้อเข่าเสื่อมที่พบมากในผู้สูงอายุ ที่มีอาการปวด บวม ขัดหรือเสียวขณะเดินโดยเฉพาะขึ้นลงบันได หรือนั่งพับขาไม่ได้ สามารถเลือกใช้การผ่าข้อเข่าเสื่อมแบบส่องกล้องเพื่อลดอาการปวดจากข้อเสื่อมได้
- โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ มีเยื่อบุข้อที่อักเสบมาก แม้ควบคุมด้วยยาแล้วอาการก็ยังไม่ดีขึ้น
2. การผ่าตัดส่องกล้องหัวไหล่ใช้ได้กรณีดังต่อไปนี้
- การผ่าตัดส่องกล้องซ่อมเอ็นหัวไหล่ขาด, เอ็นรอบข้อไหล่อักเสบ, หมอนรองเบ้าฉีกขาด
- ข้อหัวไหล่ติด รักษาโดยยาและการทำกายภาพแล้วไม่ดีขึ้น
- ข้อหัวไหล่หลุดไม่มั่นคง, ไหล่หลุดบ่อยไม่มั่นคง
- ผ่าตัดซ่อมเยื่อหุ้มข้อ, หินปูนจับที่เอ็นรอบข้อไหล่
- กระดูกไหล่หักแตกเข้าข้อ, ข้อบริเวณไหล่เสื่อม
3. การผ่าตัดกล้องส่องข้อบริเวณอื่นๆ เช่น
- ข้อศอก เพื่อผ่าตัดรักษาการติดยึดจากพังผืดภายในข้อ, เยื่อหุ้มข้ออักเสบรุนแรง
- ข้อมือ เพื่อผ่าตัดรักษาเส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับ และตรวจวินิจฉัยอาการปวดข้อมือเรื้อรัง
ข้อเท้า เพื่อผ่าตัดรักษากระดูกอ่อนแตก เยื่อหุ้มข้ออักเสบ และตรวจวินิจฉัยอาการปวดข้อเท้าเรื้อรัง
การผ่าตัดส่องกล้องข้อและเอ็นเป็นอย่างไร
การผ่าตัดส่องกล้องข้อ (Arthroscopic Surgery) เป็นการผ่าตัดภายในข้อ โดยใช้กล้องขนาดเล็กส่องเข้าไปภายในข้อเพื่อตรวจหาความผิดปกติ ซึ่งแพทย์สามารถเห็นพยาธิสภาพในข้อได้ชัดเจนกว่าปกติผ่านจอรับภาพ ขณะเดียวกันก็จะใช้เครื่องมือเล็กๆ เท่าปากกาสอดเข้าไปในข้อเพื่อทำการผ่าตัด แก้ไขพยาธิสภาพนั้นๆ ซึ่งการผ่าตัดในลักษณะนี้ต่างกับการผ่าตัดแบบเดิมที่จำเป็นต้องเปิดแผลใหญ่ ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือภาวะแทรกซ้อนในการผ่าตัดสูง การผ่าตัดส่องกล้องสามารถลดความเสี่ยงข้างต้น และยังทำให้ฟื้นตัวหลังผ่าตัดได้เร็วกว่าอีกด้วย
ระงับความเจ็บปวด หลังจากการผ่าตัดส่องกล้องข้อ (Arthroscopic Surgery)
ผู้ป่วยจะไม่ต้องเผชิญกับอาการปวดแผลหลังผ่าตัด ด้วยเทคนิคการระงับความเจ็บปวดหลังจากการผ่าตัด โดยวิธีการฉีดยาชาบริเวณรอบเส้นประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nerve Block) ซึ่งเป็นวิธีระงับปวดที่มีประสิทธิภาพสูง และปลอดภัย ซึ่งเป็นการใช้เข็มหรือใส่สายคาให้ยาชาที่บริเวณเส้นประสาทส่วนปลาย เพื่อให้ยาชาออกฤทธิ์ยับยั้งการนำสัญญาณประสาทไม่ให้เข้าไปในไขสันหลัง จะทำภายใต้การใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound) โดยแพทย์จะทำการตรวจสอบตำแหน่งเส้นประสาทก่อนจะให้ยา จึงทำให้ผู้ป่วยได้รับการระงับปวดหลังผ่าตัด ซึ่งมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยสูง ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยากลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) และกลุ่มโอปิออยด์ (Opioid) ได้เป็นอย่างดี
ข้อดีของการผ่าตัดส่องกล้องข้อ
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้องข้อมีข้อดีดังนี้
- สามารถเห็นพยาธิสภาพภายในข้อได้ทั้งหมด และชัดเจนกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผล
- รอยแผลผ่าตัดที่มีขนาดเล็กมาก ประมาณ 1-2
- ไม่ต้องตัดเยื่อหุ้มข้อ เนื้อเยื่อรอบๆ ข้อ จึงทำให้การบาดเจ็บจากแผลผ่าตัดน้อยลง
- การเคลื่อนไหวของข้อหลังผ่าตัดทำได้เร็วขึ้น
- การฟื้นฟูและระยะเวลาการรักษาลดลงมากเมื่อเทียบกับการรักษาแบบผ่าตัดเปิดแผลแบบเดิม
- ลดการติดเชื้อหลังผ่าตัดได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานร่วมด้วย
- ลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลจึงทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษา
บทความโดย นายแพทย์อัครวินท์ ภูรพีระวงษ์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยกรรมกระดูก-การกีฬาและผ่าตัดส่องกล้องข้อโรงพยาบาลเกษมรษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนลรัตนาธิเบศร์
แพ็กเกจแนะนำ
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันไวรัส RSV สำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
กิจกรรมคลอดคุณแม่คุณภาพ ประจำปี 2567
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพประจำปี 2567
แพ็กเกจ ตรวจหัวใจ คนไทยและต่างชาติ
บริการทันตกรรมสิทธิ์ประกันสังคม (ไม่ต้องสำรองจ่าย)
แพ็กเกจ ตรวจการนอนกรน Sleep Test
แพ็กเกจ ตรวจ อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง Abdomen Ultrasound
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพ Birthday Privileges
แพ็กเกจตรวจ Covid-19 และไข้หวัดใหญ่ แบบ RT-PCR
แพ็กเกจ อัลตร้าซาวด์ครรภ์ MFM
แพ็กเกจ ฝากครรภ์คุณภาพ
แพ็กเกจ โปรแกรม ฝังเข็ม ระงับปวด Office Syndrome
แพ็กเกจ ตรวจฟัน เคลือบฟลูออไรด์ สำหรับเด็ก
แพ็กเกจ ฉีดสีท่อนำไข่ Hysterosalpingography
แพ็กเกจ IUI ฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูก
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร
แพ็กเกจ ตรวจไข้เลือดออก
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
แพ็กเกจ ตรวจมะเร็งเต้านม ด้วย Digital Mammogram
แพ็กเกจ โปรแกรมฝากไข่ Oocyte Freezing
บทความสุขภาพอื่นๆ
กระดูกสันหลังเสื่อมทรุด ส่งผลร้ายต่อกันดำเนินชีวิต
วัคซีนสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ที่ควรฉีด (ผู้สูงอายุคือบุคคลที่มีอายุ >65ปีขึ้นไป)
รู้จัก โรค RSV ภัยร้าย ที่ผู้สูงอายุไม่ควรมองข้าม
9 โรค พบบ่อยในผู้สูงอายุ ที่ควรรู้ เพื่อป้องกันไว้ก่อนดีกว่าแก้
“ก้มเล่นมือถือ” เป็นเวลานาน พฤติกรรมเสี่ยงกระดูกคอเสื่อม
โรคไข้หวัดใหญ่คืออะไร?
การสวนหัวใจและหลอดเลือด
คลอดธรรมชาติ กับ ผ่าคลอด แบบไหนดีกว่ากัน ?
การตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery calcium scoring) คืออะไร ?
มวลกระดูกคืออะไร ทำไมต้องตรวจ ?
โรคฝีดาษลิง หรือ Mpox โรคอุบัติใหม่ที่ไม่ควรมองข้าม
ตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีสำคัญอย่างไร
พฤติกรรมแบบไหน…เสี่ยง! เป็นโรคตับ
“โรคอ้วนในเด็ก” ความน่ารักที่แฝงด้วยอันตราย‼
มะเร็งปอดใกล้ตัวกว่าที่คิด มาทำความรู้จักกับโรคมะเร็งปอด
ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ ป้องกันได้มากว่าปอดอักเสบ
การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องข้อเข่า เทคโนโลยีทันสมัย (Arthroscopic Surgery)
แนวทางการรักษาโรคมะเร็งเต้านมในปัจจุบัน
ตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีสำคัญอย่างไร
VDO ความรู้สุขภาพ
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.19 อาการปวดหัวช่วงตั้งครรภ์…แก้อย่างไรดี?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.18 ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้มั้ย?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.17 ลูกในครรภ์น้ำหนักตกเกณฑ์ กังวลมากเลย
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.16 คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องผูกมาก แก้ยังไงดี?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.15 ใครเสี่ยงบ้าง? ภาวะครรภ์เป็นพิษขณะตั้งครรภ์
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.14 ฟิต&เฟิร์ม สไตล์คุณแม่มือใหม่
คำแนะนำสำหรับการให้นมแม่ในทารกที่ได้รับการวินิจฉัย “แพ้” นมวัว
การผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่า ข้อไหล่ ดีอย่างไร?
การตรวจวิเคราะห์แรงกดใต้ฝ่าเท้า คืออะไร?
ดูแลลูกอย่างไร? เมื่อเป็นไข้หวัดหน้าร้อน
ฉีดสีท่อนำไข่ แก้ปัญหามีบุตรยาก มีขั้นตอนและการเตรียมตัวอย่างไร?
กระดูกสันหลังเสื่อม-ทรุด ส่งผลร้ายต่อการดำเนินชีวิต
งูสวัด ลดความรุนแรงและโอกาสเกิดซ้ำได้ ด้วยการฉีดวัคซีน
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.13 ไอโอดีน สำคัญกับหญิงตั้งครรภ์อย่างไร?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.12 เครื่องฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ จำเป็นไหม?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.11 วัคซีนก่อนตั้งครรภ์สำคัญไม่น้อย
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.10 ตั้งใจมีลูกแฝด ดีหรือไม่?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.9 ทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์ถึงชอบท้องผูก
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.8 ท้องแข็งแบบต่างๆแยกแบบใด แบบไหนลูกโก่งตัว แบบไหนมดลูกบีบ แบบไหนใกล้คลอด
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.7 คนท้องนอนท่าไหน ไม่ทับลูกไม่ปวดเอว
บทความโดย
นายแพทย์ อัครวินท์ ภูรพีระวงษ์
แพทย์ผู้ชำนาญการศัลยกรรมกระดูก-การกีฬาและการผ่าตัดส่องกล้อง โรงพยบาลเกษมราษฎรื อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิบศร์
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
แผนกกระดูกและข้อ ชั้น 1
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
โทร.02-594-0020 ต่อ 1190 / 1191