แผนกกุมารเวชกระตุ้นพัฒนาการเด็ก

แชร์   

แผนกกุมารเวชกระตุ้นพัฒนาการเด็ก เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลและพัฒนาเด็กที่มีปัญหาในด้านการพัฒนาการ เพื่อให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพัฒนาการเด็กและได้รับความรู้ในการกระตุ้นพัฒนาการเด็กอย่างถูกต้องไปปฏิบัติ เพื่อให้เด็กทุกคนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ แข็งแรง

บริการให้คำปรึกษาด้านการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิด พร้อมทั้งการประเมินพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ ด้านภาษาและการสื่อสาร ด้านสังคมและการช่วยเหลือตนเองอย่างละเอียด เพื่อตรวจหาสาเหตุของพัฒนาการล่าช้า สำหรับการวางแผนกระตุ้นพัฒนาการที่เจาะจงและเหมาะสมกับช่วงวัย

Image module

ด้วยการรักษาทางการแพทย์ กิจกรรมบำบัด และกายภาพบำบัดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่มีประสบการณ์ให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด


  • Image
    ที่ตั้งศูนย์

    แผนกกุมารเวชกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
    ชั้น 3 โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์

  • Image
    เวลาทำการ

    เวลา 08.00-20.00น.

  • Image
    ช่องทางติดต่อ

    โทร 02 594 0020 ต่อ 1310, 1311 (KIH)

ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น

แผนกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น

แผนกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลและพัฒนาเด็กและวัยรุ่น เนื่องจากเด็กในแต่ละวัย มีการเปลี่ยนแปลงและสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังไม่เหมือนกัน...
แผนกตรวจสุขภาพเด็ก

แผนกตรวจสุขภาพเด็ก

แผนกตรวจสุขภาพเด็ก บริการให้คำปรึกษาการเสริมภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีนสำหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิด ทั้งวัคซีนจำเป็นและวัคซีนเสริม รวมถึงการให้คำปรึกษาเกี...
แผนกกุมารเวชเด็กดี

แผนกกุมารเวชเด็กดี

แผนกกุมารเวช ให้บริการการรักษาเกี่ยวกับเด็กอย่างครบวงจรและครอบคลุมทุกสาขาวิชาทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยรุ่น เพราะเด็กเป็นวัยที่...
Image module
Image module
Image module
Image module

บริการและการรักษา

Image module

ดาวน์ซินโดรมคืออะไร จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเราเป็นหรือไม่

ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome)

ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) เป็นโรคที่มีความผิดปกติของโครโมโซม เด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีศีรษะค่อนข้างเล็ก แบน และตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นมักยื่นออกมา ตัวค่อนข้างเตี้ย มือสั้น มักมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิดและภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่องและปัญหาหลักคือ ภาวะปัญญาอ่อน

ความผิดปกติของโครโมโซมคือ มีโครโมโซมเกินไป 1 แท่ง เป็นโครโมโซมคู่ที่ 21 ปกติต้องมีแค่ 2 แท่ง ที่เกิดกับเด็กกลุ่มดาวน์ จะมีโครโมโซมเป็น 3 แท่ง คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้ตรวจคัดกรองภาวะกลุ่มดาวน์ซิน(โดรมเพื่อเตรียมใจและเตรียมตัวเลี้ยงดูเด็กที่เป็นภาวะนี้ เด็กที่จะเกิดภาวะดาวน์ซินโรมไม่จำกัดเชื้อชาติ สังคมและฐานะหรือแม้แต่อายุมารดาซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนค่ะ

โดยส่วนใหญ่คู่สามี-ภรรยาที่มีบุตรในตอนอายุมากมักเสี่ยงที่จะได้ลูกเป็นดาวน์ซินโดรมซี่งแพทย์จะแนะนำให้ตรวจน้ำคร่ำ และชิ้นเนื้อของทารก เพื่อให้รู้ว่าทารกในครรภ์เป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่ ทว่านี้วิธีนี้สามารถทำได้เมื่ออายุครรภ์ระหว่าง 16 – 20 สัปดาห์ ซึ่งอาจช้าและสร้างความเจ็บปวดให้กับคุณแม่แถมยังเสี่ยงแท้งบุตรแม้จะมีเปอร์เซ็นต์เกิดขึ้นได้น้อยก็ตาม

การตรวจทางเลือกใหม่ ปลอดภัย ไร้ความเสี่ยง เพื่อตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม

วิธีล่าสุดที่นักวิจัยในยุโรปนำเสนอผ่านวารสารทางการแพทย์บอกว่า การตรวจเลือดของมารดาสามารถบอกได้ว่าทารกในครรภ์เป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่ เพราะในกระแสเลือดของมารดาสามารถตรวจหาระดับสารชีวเคมีต่างๆที่สร้างจากทารก ซึ่งสามารถนำมาประเมินได้ว่าหญิงตั้งครรภ์รายใดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่ลูกจะเกิดภาวะดาวน์ซินโดรม โดยไม่ต้องทำหัตถการที่เสี่ยง เช่น การเจาะน้ำคร่ำ การตัดชิ้นเนื้อรก หรือการดูดเลือดออกจากสายสะดือภายในมดลูกนั่นเอง ซึ่งมีหลายวิธีดังนี้

  • 1. Nifty test

    Nifty test (Non-invasive Trisomy test) นวัตกรรมใหม่ในการตรวจคัดกรองทารกดาวน์ซินโดรมที่มีประสิทธิภาพสูง โดยการตรวจวิเคราะห์ปริมาณ “DNA อิสระ” ของทารกซึ่งอยู่ในเลือดของคุณแม่ตั้งครรภ์ตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ถึง 98%

  • 2. Integrated screen

    การตรวจเลือดมารดา 2 ครั้ง ของช่วงอายุครรภ์ คือช่วงอายุครรภ์ 10 – 14 สัปดาห์ และช่วงอายุ 15 – 18 สัปดาห์ เป็นการตรวจสารชีวเคมีคนละชนิด ร่วมกับอัลตร้าซาวด์วัดความหนาของต้นคอทารก ในไตรมาสแรก (First Trimester Screening) ซึ่งจะทราบผลหลังจากเจาะเลือดครั้งที่สอง สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ถึง 94 – 96%

  • 3. Quadruple test

    Quadruple test การตรวจเลือดมารดา 1 ครั้ง ของช่วงอายุครรภ์ คือช่วงอายุครรภ์ 15 – 18 สัปดาห์ โดยดูสารชีวเคมี สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ถึง 74 – 81%

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

แผนกกุมารเวชกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ชั้น 3
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
โทร 02 – 594 0020 ต่อ 1310, 1311
LINE : @rtbinter

Image module

สิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยีทางการแพทย์ของเรา

  • ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้การดูแล

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

แผนกกุมารเวชกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ชั้น 3
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
โทร 02 – 594 0020 ต่อ 1310, 1311
LINE : @rtbinter

Image module

บริการและการรักษา

  • การดูแลรักษาเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้บกพร่อง

    – ภาวะพัฒนาการล่าช้ารอบด้าน อาทิ ด้านสุขภาพ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม
    – พัฒนาการทางภาษาล่าช้า อาทิ การอ่าน การเขียน ความเข้าใจภาษาท่าทาง การได้ยิน เป็นต้น
    – สมาธิสั้น ไม่มีสมาธิ อยู่ไม่นิ่ง ซน ยุกยิก และกระสับกระส่าย

  • กลุ่มอาการออทิสซึมหรือออทิสติก

    – ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา การเรียนรู้ การใช้เหตุผล การแก้ปัญหา การวางแผน และการตัดสินใจ
    – ความบกพร่องของทักษะการเขียน อาทิ เขียนพยัญชนะผิด สะกดคำผิด เขียนตัวหนังสือกลับด้าน เป็นต้น
    – พฤติกรรมรุนแรง ก้าวร้าว และรังแกผู้อื่น
    – ความผิดปกติทางระบบประสาทหรือโรคสมองพิการ

  • การกระตุ้นพัฒนาการเด็ก

    – ตรวจคัดกรองและประเมินพัฒนาการเด็กตั้งแต่วันแรกเกิด
    – กระตุ้นพัฒนาการเด็กด้วยการรักษาทางการแพทย์ กิจกรรมบำบัด และกายภาพบำบัด
    – การฟื้นฟูเด็กที่มีภาวะดูดกลืนลำบาก
    – การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าโรงเรียนในเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

  • การให้คำปรึกษาโรงเรียนแก่ครอบครัวสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

แผนกกุมารเวชกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ชั้น 3
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
โทร 02 – 594 0020 ต่อ 1310, 1311
LINE : @rtbinter

บทความและแพ็กเกจโปรโมชั่น

Accessibility Tools