แผนกกุมารเวชโรคหัวใจ

แชร์   

แผนกโรคหัวใจเด็ก ให้บริการดูแล ตรวจวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจหรือหลอดเลือดใกล้หัวใจสำหรับเด็ก ซึ่งครอบคลุมในเรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจแต่กำเนิดและโรคหัวใจที่เป็นภายหลังทุกชนิด ด้วยมาตรฐานการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพ โดยแพทย์เฉพาะทางกุมารเวชศาสตร์ที่มีความชำนาญและมากประสบการณ์ พร้อมให้คำแนะนำในการส่งเสริมสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือด เพื่อเตรียมความพร้อมให้ลูกน้อย เติบโตอย่างสมบูรณ์และสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนกับเด็กปกติทั่วไป

Image module
  • Image
    ที่ตั้งศูนย์

    แผนกกุมารเวชกรรมทั่วไป ชั้น 3
    โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์

  • Image
    เวลาทำการ

    เวลา 08.00-20.00น.

  • Image
    ช่องทางติดต่อ

    โทร 02-594-0020 ต่อ 1310 , 1311 (KIH)

Image module
Image module
Image module
Image module

บริการและการรักษา

Image module

โรคหัวใจและภาวะผิดปกติที่พบบ่อย

โรคหัวใจในเด็ก สามารถจำแนกเป็น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดและโรคหัวใจที่เกิดภายหลังเกิด ดังนี้

  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

    เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก โรคนี้อาจตรวจพบได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หลังคลอด หรือเมื่อโตแล้ว เด็กที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดจำนวนหนึ่งจะไม่มีอาการ และตรวจก็ไม่พบสิ่งผิดปกติในสัปดาห์แรก แต่ในบางรายมีความผิดปกติของอวัยวะอย่างอื่นร่วมด้วย บางรายเป็นเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม และบางรายเป็นความผิดปกติจากมารดาได้รับเชื้อในระยะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก เช่น หัดเยอรมัน โรคประจำตัว โรคเบาหวาน เป็นต้น

  • โรคหัวใจในเด็กที่เกิดภายหลัง หรือเกิดขึ้นหลังคลอด ที่พบได้บ่อยคือ

    • โรคคาวาซากิ มักพบในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี โดยส่วนใหญ่จะมีอายุน้อยกว่า 2 ปี เป็นกลุ่มอาการที่มีการอักเสบของหลอดเลือดขนาดกลางและขนาดเล็กทั่วร่างกาย มีไข้สูง ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง เยื่อบุผิว และต่อมน้ำเหลืองที่คอโต
    • โรคไข้รูมาติก มักพบในเด็กอายุ 5 ขวบขึ้นไป สาเหตุเกิดหลังการติดเชื้อที่บริเวณคอแล้วเกิดอาการอักเสบตามมาซึ่งจะมีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ และลิ้นหัวใจ ทำให้มีลิ้นหัวใจรั่ว หรือถ้าเป็นเรื้อรังทำให้ลิ้นหัวใจตีบ
    • โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มักเกิดจากเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไวรัสโรคหัดและโรคหัดเยอรมัน นอกจากนั้นยังพบเกิดได้จาก ไวรัสเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบ ซี และไวรัสโรคชิคุนกุนยา ซึ่งทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะจนกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ในรายที่อาการรุนแรง อาจเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน และเสียชีวิตได้
    • หัวใจเต้นผิดจังหวะในเด็ก อัตราการเต้นช้าหรือเร็วเกินไป ส่วนใหญ่ในเด็กมักพบเป็นชนิดเต้นเร็วผิดปกติ มีอาการเป็นๆ หายๆ และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายและเสียชีวิตได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

แผนกกุมารเวชกรรมทั่วไป ชั้น 3
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
โทร 02 -594-0020 ต่อ 1310, 1311
LINE : @rtbinter

Image module

บริการและการรักษา

  • ตรวจวินิจฉัยและให้คำปรึกษาผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจและหลอดเลือดทุกชนิด อาทิ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ลิ้นหัวใจอักเสบ หลอดเลือดหัวใจโป่ง หัวใจเหน็บชา โรคคาวาซากิ โรคหัวใจรูมาติก เป็นต้น
  • การตรวจวินิจฉัยโดยใช้คลื่นสะท้อนความถี่สูงเพื่อตรวจดูโครงสร้างและการทำงานของหัวใจน
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเด็กที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

แผนกกุมารเวชกรรมทั่วไป ชั้น 3
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
โทร 02 -594-0020 ต่อ 1310, 1311
LINE : @rtbinter

Image module

อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์

  • หายใจหอบ เหนื่อยง่าย
  • เล็บและปากเขียว
  • ใจสั่น หน้ามืด หรือเป็นลมบ่อย ๆ ซึ่งอาจจะเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • อาการอื่น ๆ เช่น เจ็บหน้าอก เป็นต้น (ในเด็กจะพบอาการลักษณะนี้ไม่มากเท่าผู้ใหญ่ อาการเจ็บหน้าอกในเด็กมีส่วนน้อยเท่านั้นที่เกิดจากโรคหัวใจ)
  • เหงื่อออกมากโดยเฉพาะบริเวณศีรษะ โดยไม่ได้สัมพันธ์กับการสวมใส่เสื้อผ้าที่หนา หรือไม่ได้มีอากาศที่ร้อน
  • เสียงหัวใจเต้นผิดปกติ ซึ่งสามารถตรวจโดยแพทย์เฉพาะทาง
  • โตช้า ส่วนสูงและน้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

แผนกกุมารเวชกรรมทั่วไป ชั้น 3
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
โทร 02 -594-0020 ต่อ 1310, 1311
LINE : @rtbinter

บทความและแพ็กเกจโปรโมชั่น

Accessibility Tools