แผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อเด็ก

แชร์   

ผู้ป่วยเด็กได้รับการดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกเด็กที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์สูง มีความเข้าใจผู้ป่วยเด็กเป็นพิเศษ ทำให้เด็กร่วมมือในการรักษา ลดความหวาดกลัวการมาโรงพยาบาล การดูแลผู้ป่วยนั้นครอบคลุมทั้งในภาวะฉุกเฉิน เช่น การบาดเจ็บต่าง ๆ ของกระดูกและข้อ

Image module
  • Image
    ที่ตั้งศูนย์

    ชั้น 1 โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศน์

  • Image
    เวลาทำการ

    เวลา 09.00-19.00น.

  • Image
    ช่องทางติดต่อ

    โทร 02 594 0020 ต่อ 1190 , 1191

Image module
Image module
Image module
Image module

บริการและการรักษา

Image module

การบริการเฉพาะทาง

  • โรคกระดูกสะโพกเคลื่อนในเด็ก

    อาการของสะโพกเคลื่อน หลุด หรือสะโพกหลวม คือ หากลองตั้งเข่าเด็กขึ้น จะเห็นว่าเข่าข้างที่ข้อสะโพกหลุด จะอยู่ต่ำกว่าปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการเอ็กซเรย์ดูว่าสะโพกหลุดหรือสะโพกหลวมหรือไม่ และทำการรักษาโดยการใส่สายดึงรั้งข้อสะโพกหรือเฝือก หรือรักษาตามความเหมาะสมและดุลพินิจของแพทย์

  • โรคเท้าปุก

    อาการของโรคเท้าปุกคือ เท้าข้างใดข้างหนึ่งมีลักษณะผิดรูปตั้งแต่ข้อเท้าลงไป โดยมีลักษณะเท้าจิกลงด้านล่าง ฝ่าเท้าบิดเข้าด้านในและหงายขึ้น ซึ่งโรคนี้สามารถตรวจเจอได้ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ ควรทำการรักษาทันทีหลังคลอด การรักษาทำได้โดยการดัดเท้าเข้าเฝือก และการผ่าตัด

  • โรคขาโก่ง ขาสองข้างยาวไม่เท่ากันในเด็ก

    อาการของภาวะขาโก่งหรือขาฉิ่งคือ ขาทั้งสองข้างโค้งแยกจากกัน มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 18 เดือน โดยปกติอาการจะดีขึ้นเมื่อเด็กโตขึ้น แต่หากเมื่อถึงวัยหัดเดินแล้วเด็กยังขาโก่งอยู่ ควรเข้าไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษา ซึ่งสามารถทำได้โดยการใส่เฝือก อุปกรณ์ดัดท่อ หรือผ่าตัด

  • โรคเท้าแบน

    ปกติแล้วเท้าของคนเราจะมีอุ้งเท้า ไม่เรียบแบนไปกับพื้น อาการของเด็กที่เป็นโรคเท้าแบนคือ เท้าไม่มีอุ้งเท้า แบนราบไปกับพื้น เด็กจะยืนไม่ค่อยได้ หรือทรงตัวบนเท้าลำบาก ควรรักษาโดยการควบคุมน้ำหนัก ใส่อุปกรณ์พื้นรองเท้า หรือทำกายภาพบำบัดบริหารกล้ามเนื้อเส้นเอ็นฝ่าเท้า

  • โรคกระดูกอ่อนในเด็ก

    เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของกระดูกที่ไม่เป็นปกติ ทำให้ร่างกายสร้างกระดูกได้ไม่เต็มที่ ซึ่งความล้มเหลวของระบบการสร้างกระดูกนั้นได้ส่งผลกระทบไปยังร่างกายของเด็ก กระดูกจึงมีลักษณะผิดรูปหรือบิดตัวเนื่องจากการรับน้ำหนักตัวเอาไว้ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาก็จะมีการโก่งงอผิดรูปและเป็นอันตรายต่ออวัยวะทุกส่วนของร่างกายได้

  • โรคกระดูกหักในเด็ก

    แนวทางในการรักษากระดูกหักสำหรับเด็กนั้นจะไม่ได้แตกต่างกันกับผู้ใหญ่ โดยแพทย์จะทำการจัด ดึงกระดูก หรือผ่าตัดจัดเรียงกระดูกให้เข้าที่เสียก่อน แล้วจึงใส่เฝือกหรือใส่อุปกรณ์ดามเอาไว้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์คลินิกการรักษา ชั้น 1
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศน์
โทร 02 – 594 0020 ต่อ 1190 , 1191
LINE : @rtbinter

Image module

อาการผิดปกติที่ควรพบแพทย์

  • ลูกเดินไม่คล่อง
  • รูปเท้าผิดปกติ
  • ลูกร้องไห้งอแง แสดงท่าทีว่าไม่อยากเดิน
  • แสดงอาการเจ็บเมื่อโดนจับหรือแตะ
  • ลักษณะของขา หรือเท้าผิดรูป
  • ขาหรือแขนทั้งสองข้างยาวไม่เท่ากัน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์คลินิกการรักษา ชั้น 1
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศน์
โทร 02 – 594 0020 ต่อ 1190 , 1191
LINE : @rtbinter

แพทย์ประจำศูนย์

บทความและแพ็กเกจโปรโมชั่น

การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องข้อเข่า เทคโนโลยีทันสมัย  (Arthroscopic Surgery)

การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องข้อเข่า เทคโนโลยีทันสมัย (Arthroscopic Surgery)

การผ่าตัดส่องกล้องข้อ (Arthroscopic Surgery) จะช่วยให้ผู้ป่วยเจ็บน้อย ด้วยขนาดของแผลผ่าตัดที่เล็กลง พักฟื้นเพียงไม่นานก็สามารถกลับบ้านได้ไวขึ้น สามารถ...

Accessibility Tools