แผนกศัลยกรรมเต้านม

แชร์   

แผนกศัลยกรรมเต้านม เล็งเห็นความสำคัญของการตรวจพบ วินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้องโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรมเต้านม เนื่องจากมะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบในหญิงมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปากมดลูก

มีความพร้อมที่จะให้บริการครอบคลุมเกี่ยวกับเต้านม ตั้งแต่การคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วย Mammogram แบบ 3 มิติ การตรวจวินิจฉัย ไปจนถึงการรักษาแบบสงวนเต้านม หรือการผ่าตัดมะเร็งเต้านมด้วยวิธี Oncoplastic Breast Surgery ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านมแบบดั้งเดิมกับการศัลยกรรมตกแต่งเข้าด้วยกัน โดยศัลยแพทย์มะเร็งเต้านม และเสริมสร้างเต้านม ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ให้การผ่าตัดมะเร็งเต้านมบรรลุวัตถุประสงค์ในการกำจัดมะเร็ง

Image module

  • Image
    ที่ตั้งศูนย์

    ชั้น 1 โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศน์

  • Image
    เวลาทำการ

    เวลา 09.00-19.00น.

  • Image
    ช่องทางติดต่อ

    โทร 02 594 0020 ต่อ 1118 , 1119

Image module
Image module
Image module
Image module

บริการและการรักษา

Image module

โรคและภาวะผิดปกติ

  • มะเร็งเต้านม (Breast Cancer)
  • ก้อนหรือถุงน้ำในเต้านมชนิดไม่ร้ายแรง (Benign Breast Disease)
  • ไฟโบรซิสติค (Fibrocystic Disease) เกิดจากการกระตุ้นของฮอร์โมนทำให้เกิดเป็นถุงน้ำ จนมีก้อนโตขึ้นและเจ็บเต้านมก่อนจะมีรอบเดือน 
  • ไฟโปรอดีโนมา (Fibroadenoma) เนื้องอกที่เป็นก้อนแข็งขนาด 1 – 5 ซม. อาจไม่มีอาการใดๆ หรืออาจมีอาการเจ็บได้หากก้อนใหญ่
  • เซลล์ไขมันในเต้านมถูกทำลาย (Fat Necrosis) เกิดจากเต้านมได้รับการกระแทกอย่างรุนแรงและมีเลือดออกในเต้านม
  • ซีสต์ (Cysts) เนื้องอกที่เป็นถุงน้ำ บางครั้งอาจเป็นก้อนที่อ่อนนุ่มและเกิดขึ้นก่อนมีรอบเดือน
  • ภาวะที่มีของเหลวไหลออกมาจากหัวนม (Nipple discharge)
  • ฝีเต้านม (Breast abscess)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์คลินิกการรักษา ชั้น 1
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศน์
โทร 02 – 594 0020 ต่อ 1118 , 1119
LINE : @rtbinter

Image module

บริการและการรักษา

  • การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมแบบ 3 มิติ ( 3D Digital Mammogram )
  • การเจาะชิ้นเนื้อเต้านมโดยใช้เข็มขนาดเล็ก ( Core Needle Biposy )
  • การผ่าตัดมะเร็งเต้านมและเสริมสร้างเต้านมใหม่
  • การกำจัดก้อนเนื้อบริเวณเต้านมโดยไม่ผ่าตัด
  • การจี้เย็นในเนื้องอกที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรง ( Fibroadenoma )
  • การให้ยาเคมีบำบัด มีบทบาทมากสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม สามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิต ลดการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ รวมถึงในผู้ป่วยที่ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับเต้านม แต่ต้องการผ่าตัดรักษาแบบสงวนเต้า การรับยาเคมีบำบัดก่อนผ่าตัดจะช่วยลดขนาดก้อนมะเร็ง เพิ่มโอกาสในการผ่าตัดสงวนเต้าได้
  • การให้ยามุ่งเป้า เป็นยาที่มีกลไกจับกับตัวรับพิเศษในมะเร็งเต้านมบางชนิด พัฒนามาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ทั้งเพิ่มอัตราการรอดชีวิตและลดอัตราการกลับเป็นซ้ำของโรคมะเร็ง
  • การให้ยาภูมิคุ้มกันบำบัด เป็นยาที่ออกฤทธิ์เกี่ยวพันกับภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็งเต้านม
  • การให้ยาต้านฮอร์โมน มีข้อบ่งชี้เฉพาะผู้ป่วยที่ตัวมะเร็งมีตัวรับฮอร์โมนเป็นบวก จะต้องรับประทานยาติดต่อกัน5-10ปี ตามแต่ข้อบ่งชี้ของผู้ป่วยแต่ละราย
  • การใช้รังสีรักษา คือการฉายแสงเข้าที่เต้านม และ/หรือต่อมน้ำเหลืองในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ มีประโยชน์ในการเพิ่มโอกาสการหายขาดจากโรคมะเร็ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์คลินิกการรักษา ชั้น 1
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศน์
โทร 02 – 594 0020 ต่อ 1118 , 1119
LINE : @rtbinter

Image module

อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์

  • คลำเจอก้อนในเต้านมก้อนใหม่ในระยะเวลาใกล้ ๆ กัน
  • สังเกตได้ว่าก้อนในเต้านมแต่ก้อนไม่ยุบลงเอง หรือเจอก้อนช่วงมีประจำเดือนแต่ก้อนนั้นไม่ยุบเองแม้พ้นช่วงรอบเดือนไปแล้ว
  • สังเกตได้ว่าก้อนในเต้านมมีขนาดหรือรูปร่างเปลี่ยนไป
  • พบความผิดปกติของผิวหนังบริเวณเต้านมเช่น มีรอบบุ๋ม บวม แดง
  • พบความผิดปกติบริเวณหัวนม หรือมีของเหลวไหลออกมาจากเต้านมขณะที่ไม่ได้ตั้งครรภ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์คลินิกการรักษา ชั้น 1
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศน์
โทร 02 – 594 0020 ต่อ 1118 , 1119
LINE : @rtbinter

แพทย์ประจำศูนย์

บทความและแพ็กเกจโปรโมชั่น

Accessibility Tools