โรคไข้เลือดออก เดงกี คืออะไร?
โรคไข้เลือดออกเดงกีเป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) ซึ่งมียุงลาย (Aedes aegypti) เป็นพาหะนำโรค อาการของโรคมีความรุนแรงแตกต่างกัน ตั้งแต่ไม่มีอาการ ไข้เล็กน้อย ไปจนถึงภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น เกร็ดเลือดต่ำ เลือดออก ตับอักเสบ และในกรณีรุนแรงอาจเกิดภาวะช็อกซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
กลุ่มเสี่ยงที่ควรระวัง
บุคคลที่มีความเสี่ยงสูงต่ออาการรุนแรงของโรค ได้แก่:
- เด็กเล็ก
- ผู้สูงอายุ
- ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน (BMI > 30 กก./ม.2)
- ผู้ที่ขาดสารอาหาร (โปรตีนอัลบูมินต่ำกว่า 2.5 g/dL)
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ผู้ป่วยโรคไต
- ผู้ที่เคยติดเชื้อเดงกีมาก่อน (การติดเชื้อครั้งที่สองอาจรุนแรงขึ้น)
การติดเชื้อและภูมิคุ้มกัน
ไวรัสเดงกีมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ (DENV-1, DENV-2, DENV-3, DENV-4)
- เมื่อติดเชื้อจากสายพันธุ์หนึ่ง ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์นั้นตลอดชีวิต
- ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์อื่นจะอยู่เพียงชั่วคราว (ประมาณ 6 เดือน)
- การติดเชื้อซ้ำจากสายพันธุ์ที่ต่างออกไปอาจทำให้มีอาการรุนแรงขึ้น
- ผู้ป่วยสามารถเป็นไข้เลือดออกได้สูงสุดถึง 4 ครั้งในชีวิต
การป้องกัน โรคไข้เลือดออก
การป้องกันที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด โดย:
- ใช้ยากันยุงที่มีสาร DEET, Picaridin
- กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น เทน้ำขังในภาชนะที่ไม่ได้ใช้
- ใช้มุ้งกันยุงหรือม่านกันยุง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการระบาด
- สวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวเมื่อต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยง
วัคซีนป้องกัน โรคไข้เลือดออก
ปัจจุบันประเทศไทยมีวัคซีนไข้เลือดออกที่ขึ้นทะเบียนแล้ว 2 ชนิด ได้แก่ Dengvaxia® และ Qdenga®
รายละเอียดวัคซีน Qdenga®:
- เป็นวัคซีนเชื้อเป็นที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ พัฒนาโดยใช้ไวรัสเดงกีสายพันธุ์ 2 เป็นแกนกลางและตัดต่อพันธุกรรมให้ครอบคลุมทั้ง 4 สายพันธุ์
- ฉีดทั้งหมด 2 เข็ม ห่างกัน 3 เดือน
- ใช้ได้ในผู้ที่มีอายุ 4 – 60 ปี
- มีประสิทธิภาพป้องกันโรคประมาณ 80-90% และลดโอกาสการนอนโรงพยาบาลได้ถึง 90% ภายใน 5 ปีแรก
- ไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดก่อนฉีด
- ภูมิคุ้มกันสามารถอยู่ได้นานกว่า 8 ปีจากข้อมูลวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล
- อาการข้างเคียงที่พบได้น้อย ได้แก่ ปวดบริเวณที่ฉีดหรือมีไข้ต่ำๆ
คำแนะนำในการรับวัคซีน
บุคคลที่มีอายุ 4 – 60 ปี สามารถเข้ารับวัคซีน Qdenga® ได้โดยไม่ต้องตรวจเลือดก่อนฉีด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะได้รับวัคซีนแล้ว หากมีไข้สูงหรืออาการที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาทันที
โรคไข้เลือดออกเดงกีเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยการหลีกเลี่ยงยุงกัดและรับวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูง ควบคู่ไปกับการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเพื่อลดอัตราการแพร่ระบาดของโรค
บทความโดย นพ.ฐากูร วิริยะชัย กุมารแพทย์ผู้ชำนาญการโรคติดเชื้อในเด็ก โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
แพ็กเกจแนะนำ
โปรแกรม ตรวจสุขภาพสตรี 🎀 Healthy Lady
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพประจำปี 2568
กิจกรรมคลอดคุณแม่คุณภาพ ประจำปี 2568
บริการทันตกรรมสิทธิ์ประกันสังคม (ไม่ต้องสำรองจ่าย)
แพ็กเกจ ฝากครรภ์คุณภาพ
แพ็กเกจตรวจสุขภาพ Platinum Plus Check up 2568
แพ็กเกจตรวจสุขภาพ Platinum Check up 2568
แพ็กเกจตรวจสุขภาพ Diamond Plus Check up 2568
แพ็กเกจตรวจสุขภาพ Diamond Check up 2568
แพ็กเกจตรวจสุขภาพ Gold Check up 2568
แพ็กเกจตรวจสุขภาพ Silver Check up 2568
แพ็กเกจวัคซีน RSV สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
ฟอกไต บริการอุ่นใจ❤️ ทุกสิทธิการรักษา
แพ็กเกจ วัคซีนปอดอักเสบ IPD 20 สายพันธุ์ (สำหรับเด็ก)
แพ็กเกจ วัคซีนปอดอักเสบ 20 สายพันธุ์ (สำหรับผู้ใหญ่)
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพก่อนอุปสมบท
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันไวรัส RSV สำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
แพ็กเกจ ตรวจการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ 23 สายพันธุ์
แพ็กเกจ ตรวจหัวใจ คนไทยและต่างชาติ
แพ็กเกจ ตรวจการนอนหลับ Sleep Test
บทความสุขภาพอื่นๆ
ทำความรู้จัก ไข้อีดำอีแดง (Scarlet fever)
โรคไข้เลือดออก เดงกี : อาการ การป้องกัน และวัคซีน
ภาวะมีบุตรยาก : สาเหตุ อาการ และทางเลือกในการรักษา
มะเร็งรังไข่ : การตรวจคัดกรอง การรักษา และการผ่าตัด
นิ่วในถุงน้ำดี : สาเหตุ, อาการ และการรักษา
ปวดท้อง “ผู้หญิง” แบบไหนที่ควรมาพบแพทย์?
พฤติกรรมแบบไหน เสี่ยงโรคไต ?
ภาวะตัวเหลืองในทารก
มะเร็งที่พบบ่อย ในคนไทย
ตรวจสุขภาพประจำปี ดีอย่างไร?
โรต้าไวรัส ภัยร้ายใกล้ตัวเด็กที่ต้องเฝ้าระวัง
กระดูกสันหลังเสื่อม ทรุด ส่งผลร้าย ต่อการดำเนินชีวิต
วัคซีนสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ที่ควรฉีด (ผู้สูงอายุคือบุคคลที่มีอายุ >65ปีขึ้นไป)
รู้จัก โรค RSV ภัยร้าย ที่ผู้สูงอายุไม่ควรมองข้าม
9 โรค พบบ่อยในผู้สูงอายุ ที่ควรรู้ เพื่อป้องกันไว้ก่อนดีกว่าแก้
“ก้มเล่นมือถือ” เป็นเวลานาน พฤติกรรมเสี่ยง กระดูกคอเสื่อม
โรคไข้หวัดใหญ่ คืออะไร?
การสวนหัวใจ และหลอดเลือด
คลอดธรรมชาติ กับ ผ่าคลอด แบบไหนดีกว่ากัน ?
การตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ คืออะไร ?
VDO ความรู้สุขภาพ
ความแตกต่างของ hMPV และ RSV
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – EP.20 โฟลิก สารอาหารที่สำคัญสำหรับคนท้อง
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.19 อาการปวดหัวช่วงตั้งครรภ์…แก้อย่างไรดี?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.18 ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้มั้ย?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.17 ลูกในครรภ์น้ำหนักตกเกณฑ์ กังวลมากเลย
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.16 คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องผูกมาก แก้ยังไงดี?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.15 ใครเสี่ยงบ้าง? ภาวะครรภ์เป็นพิษขณะตั้งครรภ์
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.14 ฟิต&เฟิร์ม สไตล์คุณแม่มือใหม่
คำแนะนำสำหรับการให้นมแม่ในทารกที่ได้รับการวินิจฉัย “แพ้” นมวัว
การผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่า ข้อไหล่ ดีอย่างไร?
การตรวจวิเคราะห์แรงกดใต้ฝ่าเท้า คืออะไร?
ดูแลลูกอย่างไร? เมื่อเป็นไข้หวัดหน้าร้อน
ฉีดสีท่อนำไข่ แก้ปัญหามีบุตรยาก มีขั้นตอนและการเตรียมตัวอย่างไร?
กระดูกสันหลังเสื่อม-ทรุด ส่งผลร้ายต่อการดำเนินชีวิต
งูสวัด ลดความรุนแรงและโอกาสเกิดซ้ำได้ ด้วยการฉีดวัคซีน
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.13 ไอโอดีน สำคัญกับหญิงตั้งครรภ์อย่างไร?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.12 เครื่องฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ จำเป็นไหม?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.11 วัคซีนก่อนตั้งครรภ์สำคัญไม่น้อย
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.10 ตั้งใจมีลูกแฝด ดีหรือไม่?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.9 ทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์ถึงชอบท้องผูก
บทความโดย
นายแพทย์ ฐากูร วิริยะชัย
กุมารแพทย์ผู้ชำนาญการโรคติดเชื้อในเด็ก โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
แผนกกุมารเวช ชั้น 3
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
โทร. 02-594-0020 ต่อ 1310 , 1311