เอชไพโลไร Pylori (Helicobacter Pylori) หรือ เชื้อเอชไพโลไร เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะอาศัยอยู่ภายในระบบทางเดินอาหาร มักไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่ในบางกรณีการติดเชื้อชนิดนี้อาจส่งผลให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ และอาจกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้
อาการของการติดเชื้อเอชไพโลไร
การติดเชื้อแบบเฉียบพลันหรือในปริมาณมาก จะมีอาการเหมือนกระเพาะอาหารอักเสบ โดยมีไข้ ปวดท้องคลื่นไส้ อาเจียน เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วหายไป ขณะที่ผู้รับเชื้อในปริมาณน้อยอาจไม่มีอาการใดๆเลย แต่เชื้อจะฝังตัวอยู่ในกระเพาะอาหารไปเรื่อยๆ จนความแข็งแรงของผิวเยื่อบุลดลง ส่งผลให้กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังหรือเกิดแผลในกระเพาะอาหาร มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้ในที่สุด
อาการของการติดเชื้อเอชไพโลไร
- มีอาการปวดท้องเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง บริเวณใต้ลิ้นปี่
- ท้องอืด หรือ มีอาการจุกเสียดแน่นท้อง
- น้ำหนักลดลง โดยไม่ทราบสาเหตุ
- กรณีมีการอักเสบรุนแรง จนเกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น อาจมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้อุจจาระมีสีดำ อาเจียนเป็นเลือด หรือเป็นสาเหตุของภาวะโลหิตจาง
สาเหตุของการติดเชื้อเอชไพโลไร
สาเหตุของการติดเชื้อเอชไพโลไรยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากการสัมผัสเชื้อและนำเข้าปากโดยไม่รู้ตัว รวมถึงการบริโภคอาหารและน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ การติดเชื้อชนิดนี้เกิดขึ้นได้กับทุกคนทุกเพศและทุกวัย แต่มักพบในเด็ก และจะยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นหากอาศัยอยู่ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ เอชไพโลไรหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่แออัดที่ไม่สะอาด
เมื่อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อ เอชไพโลไรจะเข้าไปทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลงจนไม่สามารถทนต่อกรดในกระเพาะอาหารที่มีความเข้มข้นได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้
การรักษาผู้ติดเชื้อเอชไพโลไร
เมื่อตรวจพบว่าผู้ป่วยติดเชื้อเอชไพโลไร แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะที่มีสูตรเฉพาะ เนื่องจากแบคทีเรียที่อยู่ในกระเพาะมีโอกาสดื้อยาสูง สูตรของยาปฏิชีวะมีความหลากหลาย ต้องใช้ร่วมกัน 2-3 ชนิด ซึ่งต้องรับประทานยาต่อเนื่อง 1-2 สัปดาห์ ตามความเหมาะของยาและผู้ป่วยแต่ละบุคคล
นอกจากนี้หากพบผู้ป่วยติดเชื้อภายในครอบครัวที่ใช้ชีวิตร่วมกันหรือรับประทานอาหารสำรับเดียวกัน ควรเข้ารับการตรวจเชื้อ เพื่อทำการรักษาไปพร้อมๆ กัน และป้องกันการกลับมาติดเชื้อซ้ำ
การป้องกันการติดเชื้อเอชไพโลไร
- ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนทำอาหารและรับประทานอาหาร
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่ไม่สะอาด รวมถึงอาหารที่ปรุงไม่สุก
- หากมีอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร หรือเป็นโรคกระเพาะเรื้อรัง ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่ รวมถึงการตรวจหาเชื้อเอชไพโลไรด้วย
แม้โรคกระเพาะอาหารจะเป็นโรคที่ไม่ทำอันตรายถึงชีวิต แต่การปล่อยทิ้งไว้จนกลายเป็นโรคกระเพาะอักเสบเรื้อรัง และอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ดังนั้นหากเริ่มมีอาการปวดท้อง แสบท้อง จุกแน่นเฟ้อที่ ท้อง หรือมีบุคคลในครอบครัวเคยตรวจพบเชื้อเอชไพโลไร ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการปวดท้อง , ตรวจหาเชื้อเอชไพโร และเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี
บทความโดย แพทย์หญิง อัจฉรา เสรีไพบูลย์ทรัพย์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นเเนล รัตนาธิเบศร์
แพ็กเกจแนะนำ
Promotion Heart Sale 9.9 โปรแกรมตรวจสุขภาพหัวใจ
แพ็กเกจวัคซีนป้องกันไวรัส RSV สำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
กิจกรรมคลอดคุณแม่คุณภาพ ประจำปี 2567
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพประจำปี 2567
แพ็กเกจ ตรวจหัวใจ คนไทยและต่างชาติ
บริการทันตกรรมสิทธิ์ประกันสังคม (ไม่ต้องสำรองจ่าย)
แพ็กเกจ ตรวจการนอนกรน Sleep Test
แพ็กเกจ ตรวจช่องท้องโดยการอัลตร้าซาวด์ Abdomen Ultrasound
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพ Birthday Privileges
แพ็กเกจตรวจ Covid-19 และไข้หวัดใหญ่ แบบ RT-PCR
แพ็กเกจ ฝากครรภ์คุณภาพ
แพ็กเกจ โปรแกรมฝังเข็มระงับปวด Office Syndrome
แพ็กเกจ IUI ฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูก
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร
แพ็กเกจ ตรวจไข้เลือดออก
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
แพ็กเกจ ตรวจมะเร็งเต้านม ด้วย Digital Mammogram
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพคู่รัก ไม่แยกเพศ
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพเพื่ออนุญาตทำงาน Work permit
บทความสุขภาพอื่นๆ
“ก้มเล่นมือถือ” เป็นเวลานาน พฤติกรรมเสี่ยงกระดูกคอเสื่อม
โรคไข้หวัดใหญ่คืออะไร?
การสวนหัวใจและหลอดเลือด
คลอดธรรมชาติ กับ ผ่าคลอด แบบไหนดีกว่ากัน ?
การตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery calcium scoring) คืออะไร ?
มวลกระดูกคืออะไร ทำไมต้องตรวจ ?
โรคฝีดาษลิง หรือ Mpox โรคอุบัติใหม่ที่ไม่ควรมองข้าม
พฤติกรรมแบบไหน…เสี่ยง! เป็นโรคตับ
“โรคอ้วนในเด็ก” ความน่ารักที่แฝงด้วยอันตราย‼
มะเร็งปอดใกล้ตัวกว่าที่คิด มาทำความรู้จักกับโรคมะเร็งปอด
ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ ป้องกันได้มากว่าปอดอักเสบ
การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องข้อเข่า เทคโนโลยีทันสมัย (Arthroscopic Surgery)
แนวทางการรักษาโรคมะเร็งเต้านมในปัจจุบัน
กระดูกสันหลังเสื่อมทรุด ส่งผลร้ายต่อกันดำเนินชีวิต
ตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีสำคัญอย่างไร
ท้องตอนอายุมาก เสี่ยงอย่างไร
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ ป้องกันได้มากกว่าปอดอักเสบ (Pneumococcal vaccine)
อาการอัลไซเมอร์ ต้นเหตุของภาวะสมองเสื่อม ที่เป็นมากกว่าการหลงลืม
RSV โรคร้ายที่คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าระวัง
VDO ความรู้สุขภาพ
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.16 คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องผูกมาก แก้ยังไงดี?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.15 ใครเสี่ยงบ้าง? ภาวะครรภ์เป็นพิษขณะตั้งครรภ์
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.14 ฟิต&เฟิร์ม สไตล์คุณแม่มือใหม่
คำแนะนำสำหรับการให้นมแม่ในทารกที่ได้รับการวินิจฉัย “แพ้” นมวัว
การผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่า ข้อไหล่ ดีอย่างไร?
การตรวจวิเคราะห์แรงกดใต้ฝ่าเท้า คืออะไร?
ดูแลลูกอย่างไร? เมื่อเป็นไข้หวัดหน้าร้อน
ฉีดสีท่อนำไข่ แก้ปัญหามีบุตรยาก มีขั้นตอนและการเตรียมตัวอย่างไร?
กระดูกสันหลังเสื่อม-ทรุด ส่งผลร้ายต่อการดำเนินชีวิต
งูสวัด ลดความรุนแรงและโอกาสเกิดซ้ำได้ ด้วยการฉีดวัคซีน
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.13 ไอโอดีน สำคัญกับหญิงตั้งครรภ์อย่างไร?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.12 เครื่องฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ จำเป็นไหม?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.11 วัคซีนก่อนตั้งครรภ์สำคัญไม่น้อย
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.10 ตั้งใจมีลูกแฝด ดีหรือไม่?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.9 ทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์ถึงชอบท้องผูก
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.8 ท้องแข็งแบบต่างๆแยกแบบใด แบบไหนลูกโก่งตัว แบบไหนมดลูกบีบ แบบไหนใกล้คลอด
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.7 คนท้องนอนท่าไหน ไม่ทับลูกไม่ปวดเอว
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.6 ควรตรวจครรภ์ตอนไหน ตรวจยังไงถึงได้ประสิทธิภาพแม่นยำที่สุด
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.5 ไขข้อสงสัยอัลตราซาวนด์ ทารกในครรภ์ แต่ละแบบต่างกันอย่างไร
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.4 ภาวะดาวน์ซินโดรมคุณแม่มือใหม่ควรรู้
บทความโดย
แพทย์หญิง อัจฉรา เสรีไพบูลย์ทรัพย์
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
แผนกระบบทางเดินอาหารและตับ ชั้น 3
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
โทร.02-594-0020 ต่อ 1302 , 1305
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง
เฉพาะทาง: -
เฉพาะทาง: -
เฉพาะทาง: -