โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) เป็นโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมอง ส่งผลให้ความจำบกพร่อง หรือมีภาวะหลงลืมง่าย ในหลายๆ ครั้งที่ผู้ป่วยเริ่มมีอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป มักจะเผชิญกับอาการความจำบกพร่อง เริ่มมีปัญหาความจำเกี่ยวกับคนรอบข้าง รวมถึงตัวผู้ป่วยเอง และเริ่มส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวัน
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์
- ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
- พันธุกรรม มีคนในครอบครัวเคยป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์มาก่อน
- โรคดาวน์ซินโดรม ผู้ป่วยโรคดาวน์ซินโดรม นี้มีความผิดปกติของการสะสมของโปรตีนบางชนิด ซึ่งทำให้สามารถเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้
- ได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ จะเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์มากกว่าคนทั่วไป
- มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคซึมเศร้า โรคหลอดเลือดสมอง
- พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ขาดการออกกำลังกาย ชอบสูบบุหรี่
อาการโดยทั่วไปของโรคอัลไซเมอร์แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะแรก ผู้ป่วยจะมีอาการความทรงจำถดถอย ลืมเรื่องราวที่เกิดขึ้นในระยะสั้นๆ เช่น เช้านี้ทานข้าวกับอะไร ลืมไปว่าทานข้าวแล้ว ลืมไปว่าให้อาหารสัตว์เลี้ยงแล้ว ไม่สามารถจำบทสนทนาหรือเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ ใช้เวลาในการทำกิจวัตรประจำวันนานมากขึ้น เป็นต้น อาการเหล่านี้จะทำให้ผู้ชอบถามหรือทำอะไรๆซ้ำเพราะจำไม่ได้ว่าทำไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีอาการสับสนทิศทาง โรคเครียดผู้สูงอายุ หงุดหงิดง่ายขึ้น อาจมีอาการทางจิตเวชร่วมด้วยแต่ไม่มาก ยังพอทำกิจวัตรประจำได้ ผู้ดูแลยังดูแลได้เกือบเท่าในยามที่ยังไม่ป่วย
ระยะกลาง ความจำจะแย่มากขึ้น บางคนเดินออกจากบ้านแบบไม่มีจุดหมาย จำชื่อคนรู้จักไม่ได้ เกิดความรู้สึกสับสนในเรื่องการรับรู้เวลาหรือสถานที่ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆไม่ได้ การสื่อสารเริ่มมีปัญหา นอนหลับยาก นิสัยและพฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น หากเคยเป็นคนใจเย็นมาก่อน จะกลายเป็นคนก้าวร้าว อารมณ์รุนแรง พูดจาหยาบคาย ฉุนเฉียวง่าย แต่ถ้าเป็นคนใจร้อนขี้โมโหมาก่อน อาจเงียบขรึมลง พูดน้อยลง เป็นต้น เริ่มมีปัญหากับการทำกิจวัตรประจำวันแบบง่ายๆ เช่น ไม่สามารถล้างจาน ชงกาแฟหรือใช้รีโมททีวีได้ เริ่มมีความคิดที่ผิดเพี้ยนไปจากความจริงหรือประสาทหลอน เช่น คิดว่าจะมีคนมาทำร้าย คิดว่ามีคนคอยนินทาว่าร้าย เป็นต้น ถ้าป่วยในระยะนี้ ผู้ป่วยเริ่มช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ มีปัญหาเรื่องการเข้าสังคมและดูแลได้ยากขึ้น
ระยะสุดท้าย เซลล์สมองจะเสื่อมเป็นวงกว้าง อาการโดยรวมจะแย่ลงทุกด้าน มีปัญหาเรื่องความทรงจำอย่างร้ายแรง อาการประสาทหลอนจะรุนแรงมากขึ้น ผู้ป่วยจะตอบสนองกับสิ่งรอบตัวน้อยลงหรือไม่ตอบสนองเลย แต่บางครั้งอาจก้าวร้าวหรืออาละวาดเพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนรอบข้างได้ เคลื่อนไหวช้าหรือไม่เคลื่อนไหวเลย จึงดูคล้ายกับผู้ป่วยติดเตียงมาก ทานอาหารได้น้อย พูดน้อยมาก ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ น้ำหนักลด กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไมได้ สุขภาพร่างกายทรุดโทรม ภูมิต้านทานต่ำลง เจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น หากภูมิตกมากๆอาจจะทำให้ติดเชื้อและเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งกว่าโรคจะพัฒนามาถึงระยะนี้จะใช้เวลาราว 8-10 ปี
โรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด และไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเท่านั้นและยังคงมีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยสามารถพบผู้ป่วยในกลุ่มที่มีอายุ 40-50 ปีได้เช่นกัน ปัจจุบัน โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น จึงควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย หากสังเกตเห็นความผิดปกติเกี่ยวกับด้านความจำ
บทความโดย นพ.ยงยศ ปลื้มจิตติก แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
แพ็กเกจแนะนำ
Promotion Heart Sale 9.9 โปรแกรมตรวจสุขภาพหัวใจ
แพ็กเกจวัคซีนป้องกันไวรัส RSV สำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
กิจกรรมคลอดคุณแม่คุณภาพ ประจำปี 2567
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพประจำปี 2567
แพ็กเกจ ตรวจหัวใจ คนไทยและต่างชาติ
บริการทันตกรรมสิทธิ์ประกันสังคม (ไม่ต้องสำรองจ่าย)
แพ็กเกจ ตรวจการนอนกรน Sleep Test
แพ็กเกจ ตรวจช่องท้องโดยการอัลตร้าซาวด์ Abdomen Ultrasound
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพ Birthday Privileges
แพ็กเกจตรวจ Covid-19 และไข้หวัดใหญ่ แบบ RT-PCR
แพ็กเกจ ฝากครรภ์คุณภาพ
แพ็กเกจ โปรแกรมฝังเข็มระงับปวด Office Syndrome
แพ็กเกจ IUI ฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูก
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร
แพ็กเกจ ตรวจไข้เลือดออก
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
แพ็กเกจ ตรวจมะเร็งเต้านม ด้วย Digital Mammogram
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพคู่รัก ไม่แยกเพศ
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพเพื่ออนุญาตทำงาน Work permit
บทความสุขภาพอื่นๆ
การสวนหัวใจและหลอดเลือด
คลอดธรรมชาติ กับ ผ่าคลอด แบบไหนดีกว่ากัน ?
การตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery calcium scoring) คืออะไร ?
มวลกระดูกคืออะไร ทำไมต้องตรวจ ?
โรคฝีดาษลิง หรือ Mpox โรคอุบัติใหม่ที่ไม่ควรมองข้าม
พฤติกรรมแบบไหน…เสี่ยง! เป็นโรคตับ
“โรคอ้วนในเด็ก” ความน่ารักที่แฝงด้วยอันตราย‼
มะเร็งปอดใกล้ตัวกว่าที่คิด มาทำความรู้จักกับโรคมะเร็งปอด
ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ ป้องกันได้มากว่าปอดอักเสบ
การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องข้อเข่า เทคโนโลยีทันสมัย (Arthroscopic Surgery)
แนวทางการรักษาโรคมะเร็งเต้านมในปัจจุบัน
กระดูกสันหลังเสื่อมทรุด ส่งผลร้ายต่อกันดำเนินชีวิต
ตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีสำคัญอย่างไร
ท้องตอนอายุมาก เสี่ยงอย่างไร
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ ป้องกันได้มากกว่าปอดอักเสบ (Pneumococcal vaccine)
อาการอัลไซเมอร์ ต้นเหตุของภาวะสมองเสื่อม ที่เป็นมากกว่าการหลงลืม
RSV โรคร้ายที่คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าระวัง
การนอนหลับไม่เพียงพอ เป็นสัญญาณอันตราย!
เชื้อ H. Pylori เป็นเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร
VDO ความรู้สุขภาพ
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.16 คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องผูกมาก แก้ยังไงดี?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.15 ใครเสี่ยงบ้าง? ภาวะครรภ์เป็นพิษขณะตั้งครรภ์
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.14 ฟิต&เฟิร์ม สไตล์คุณแม่มือใหม่
คำแนะนำสำหรับการให้นมแม่ในทารกที่ได้รับการวินิจฉัย “แพ้” นมวัว
การผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่า ข้อไหล่ ดีอย่างไร?
การตรวจวิเคราะห์แรงกดใต้ฝ่าเท้า คืออะไร?
ดูแลลูกอย่างไร? เมื่อเป็นไข้หวัดหน้าร้อน
ฉีดสีท่อนำไข่ แก้ปัญหามีบุตรยาก มีขั้นตอนและการเตรียมตัวอย่างไร?
กระดูกสันหลังเสื่อม-ทรุด ส่งผลร้ายต่อการดำเนินชีวิต
งูสวัด ลดความรุนแรงและโอกาสเกิดซ้ำได้ ด้วยการฉีดวัคซีน
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.13 ไอโอดีน สำคัญกับหญิงตั้งครรภ์อย่างไร?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.12 เครื่องฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ จำเป็นไหม?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.11 วัคซีนก่อนตั้งครรภ์สำคัญไม่น้อย
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.10 ตั้งใจมีลูกแฝด ดีหรือไม่?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.9 ทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์ถึงชอบท้องผูก
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.8 ท้องแข็งแบบต่างๆแยกแบบใด แบบไหนลูกโก่งตัว แบบไหนมดลูกบีบ แบบไหนใกล้คลอด
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.7 คนท้องนอนท่าไหน ไม่ทับลูกไม่ปวดเอว
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.6 ควรตรวจครรภ์ตอนไหน ตรวจยังไงถึงได้ประสิทธิภาพแม่นยำที่สุด
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.5 ไขข้อสงสัยอัลตราซาวนด์ ทารกในครรภ์ แต่ละแบบต่างกันอย่างไร
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.4 ภาวะดาวน์ซินโดรมคุณแม่มือใหม่ควรรู้
บทความโดย
นายแพทย์ ยงยศ ปลื้มจิตติก
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
แผนกอายุรกรรม ชั้น 2
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
โทร.02-594-0020 ต่อ 1219 , 1220
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง
เฉพาะทาง: -
เฉพาะทาง: -
เฉพาะทาง: -