โรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ – อัมพาต) หรือ Stroke คือภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตกส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก ซึ่งคนส่วนใหญ่กว่า 80 % เป็นชนิดหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน (Ischemic stroke) และอีกประมาณ 20 % เป็นหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke)
ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองตีบ ว่าโรคหลอดเลือดสมองตีบเกิดจากความเสื่อมของผนังหลอดเลือดหรือมีไขมันมาเกาะบริเวณผนังหลอดเลือดด้านในซึ่งพบได้ทั้งในหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดใหญ่ที่ลำคอทำให้ขนาดหรือรูของหลอดเลือดตีบหรือแคบลงส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ไม่เพียงพอ
- ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
- โรคเบาหวานเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้หลอดเลือดแข็งตัวได้ทั่วร่างกาย
- ไขมันในเลือด เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดอุดตัน
- การสูบบุหรี่ พบว่าสัมพันธ์กับการเกิดภาวะหลอดเลือดเปราะ
- การดื่มสุรา พบว่าผู้ที่ดื่มปานกลางจนถึงดื่มจัดจะมีอัตราเสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม
- ผู้ที่ไม่ชอบออกกำลังกาย
นอกจากนี้ยังเกิดได้ง่ายกับผู้ป่วยโรคหัวใจชนิดที่เสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดในห้องหัวใจเช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Fibrillation, โรคลิ้นหัวใจและโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นสำคัญทำให้ลิ่มเลือดหลุดจากหัวใจไปอุดตันที่หลอดเลือดสมองส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดที่ต้องไปเลี้ยงสมองทำให้เซลล์สมองขาดเลือดและสูญเสียการควบคุม จนอวัยวะต่างๆเริ่มทำงานผิดปกติหรือที่เราเรียกว่าอัมพฤกษ์ อัมพาตนั่นเอง
การวินิจฉัยโรค
หลังจากที่ผู้ป่วยถึงโรงพยาบาล แพทย์จะทำการตรวจผู้ป่วยด้วย CT scan หรือ MRI และแพทย์จะวินิจฉัยแยกโรคที่มีอาการใกล้เคียงอย่างเช่น เนื้องอกในสมอง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงผิดปกติ อื่น ๆ ด้วยวิธีการ
- การตรวจร่างกาย
- การตรวจเลือด
- การตรวจ CT scan
- การตรวจ MRI
- การตรวจหลอดเลือดแดงที่คอด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Carotid doppler ultrasound)
- การฉีดสีเข้าหลอดเลือดสมอง (Cerebral angiogram)
แนวทางการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ควรป้องกันก่อนการเกิดโรคและควรควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการ ตีบ อุดตัน หรือแตก โดยมีแนวทางการป้องกันโรค ดังนี้
- ปรับระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคลอเรสเตอรอลและไขมันอิ่มตัวสูง
- เลิกสูบบุหรี่
- ควบคุมอาการของโรคเบาหวาน
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- รับประทานผลไม้และผักให้มากยิ่งขึ้น
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ลดการดื่มสุรา
- เข้ารับการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด
การรักษาจะมุ่งไปที่การฟื้นฟูร่างกาย เพื่อที่ผู้ป่วยจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติ โปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพ การตรวจการกลืนอาหาร อรรถบำบัดมักจะใช้ในโปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
บทความโดย นายแพทย์ ธนาคาร ศรีพนม แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
แพ็กเกจแนะนำ
Promotion Heart Sale 9.9 โปรแกรมตรวจสุขภาพหัวใจ
แพ็กเกจวัคซีนป้องกันไวรัส RSV สำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
กิจกรรมคลอดคุณแม่คุณภาพ ประจำปี 2567
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพประจำปี 2567
แพ็กเกจ ตรวจหัวใจ คนไทยและต่างชาติ
บริการทันตกรรมสิทธิ์ประกันสังคม (ไม่ต้องสำรองจ่าย)
แพ็กเกจ ตรวจการนอนกรน Sleep Test
แพ็กเกจ ตรวจช่องท้องโดยการอัลตร้าซาวด์ Abdomen Ultrasound
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพ Birthday Privileges
แพ็กเกจตรวจ Covid-19 และไข้หวัดใหญ่ แบบ RT-PCR
แพ็กเกจ ฝากครรภ์คุณภาพ
แพ็กเกจ โปรแกรมฝังเข็มระงับปวด Office Syndrome
แพ็กเกจ IUI ฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูก
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร
แพ็กเกจ ตรวจไข้เลือดออก
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
แพ็กเกจ ตรวจมะเร็งเต้านม ด้วย Digital Mammogram
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพคู่รัก ไม่แยกเพศ
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพเพื่ออนุญาตทำงาน Work permit
บทความสุขภาพอื่นๆ
การสวนหัวใจและหลอดเลือด
คลอดธรรมชาติ กับ ผ่าคลอด แบบไหนดีกว่ากัน ?
การตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery calcium scoring) คืออะไร ?
มวลกระดูกคืออะไร ทำไมต้องตรวจ ?
โรคฝีดาษลิง หรือ Mpox โรคอุบัติใหม่ที่ไม่ควรมองข้าม
พฤติกรรมแบบไหน…เสี่ยง! เป็นโรคตับ
“โรคอ้วนในเด็ก” ความน่ารักที่แฝงด้วยอันตราย‼
มะเร็งปอดใกล้ตัวกว่าที่คิด มาทำความรู้จักกับโรคมะเร็งปอด
ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ ป้องกันได้มากว่าปอดอักเสบ
การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องข้อเข่า เทคโนโลยีทันสมัย (Arthroscopic Surgery)
แนวทางการรักษาโรคมะเร็งเต้านมในปัจจุบัน
กระดูกสันหลังเสื่อมทรุด ส่งผลร้ายต่อกันดำเนินชีวิต
ตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีสำคัญอย่างไร
ท้องตอนอายุมาก เสี่ยงอย่างไร
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ ป้องกันได้มากกว่าปอดอักเสบ (Pneumococcal vaccine)
อาการอัลไซเมอร์ ต้นเหตุของภาวะสมองเสื่อม ที่เป็นมากกว่าการหลงลืม
RSV โรคร้ายที่คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าระวัง
การนอนหลับไม่เพียงพอ เป็นสัญญาณอันตราย!
เชื้อ H. Pylori เป็นเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร
VDO ความรู้สุขภาพ
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.16 คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องผูกมาก แก้ยังไงดี?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.15 ใครเสี่ยงบ้าง? ภาวะครรภ์เป็นพิษขณะตั้งครรภ์
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.14 ฟิต&เฟิร์ม สไตล์คุณแม่มือใหม่
คำแนะนำสำหรับการให้นมแม่ในทารกที่ได้รับการวินิจฉัย “แพ้” นมวัว
การผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่า ข้อไหล่ ดีอย่างไร?
การตรวจวิเคราะห์แรงกดใต้ฝ่าเท้า คืออะไร?
ดูแลลูกอย่างไร? เมื่อเป็นไข้หวัดหน้าร้อน
ฉีดสีท่อนำไข่ แก้ปัญหามีบุตรยาก มีขั้นตอนและการเตรียมตัวอย่างไร?
กระดูกสันหลังเสื่อม-ทรุด ส่งผลร้ายต่อการดำเนินชีวิต
งูสวัด ลดความรุนแรงและโอกาสเกิดซ้ำได้ ด้วยการฉีดวัคซีน
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.13 ไอโอดีน สำคัญกับหญิงตั้งครรภ์อย่างไร?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.12 เครื่องฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ จำเป็นไหม?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.11 วัคซีนก่อนตั้งครรภ์สำคัญไม่น้อย
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.10 ตั้งใจมีลูกแฝด ดีหรือไม่?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.9 ทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์ถึงชอบท้องผูก
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.8 ท้องแข็งแบบต่างๆแยกแบบใด แบบไหนลูกโก่งตัว แบบไหนมดลูกบีบ แบบไหนใกล้คลอด
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.7 คนท้องนอนท่าไหน ไม่ทับลูกไม่ปวดเอว
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.6 ควรตรวจครรภ์ตอนไหน ตรวจยังไงถึงได้ประสิทธิภาพแม่นยำที่สุด
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.5 ไขข้อสงสัยอัลตราซาวนด์ ทารกในครรภ์ แต่ละแบบต่างกันอย่างไร
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.4 ภาวะดาวน์ซินโดรมคุณแม่มือใหม่ควรรู้
บทความโดย
นายแพทย์ ธนาคาร ศรีพนม
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
แผนกอายุรกรรม ชั้น 2
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
โทร.02-594-0020 ต่อ 1219 , 1220
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง
เฉพาะทาง: -
เฉพาะทาง: -
เฉพาะทาง: -