ภาวะหัวใจวาย หรือ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เกิดจากคราบไขมันในหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ปริหรือแตก ทำให้เกิดการสะสมของเม็ดเลือดและลิ่มเลือด เกิดการอุดตันหลอดเลือดทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะหากเป็นเส้นเลือดที่สำคัญหรือเป็นบริเวณหลอดเลือดใหญ่ จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเฉียบพลัน
สาเหตุของการเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน อาจเกิดจากตัวเราเองที่มีอายุมากขึ้น พบว่าผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 45 ปี และผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 55 ปี มีอุบัติการณ์เกิดโรคนี้ได้มากขึ้น โดยผู้ชายจะพบได้มากกว่าผู้หญิง และหากมีปัจจัยทางพันธุกรรม เช่น คนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจหรือเป็นไขมันในเลือดสูง จะเป็นโรคนี้มากขึ้น
ปัจจัยที่สำคัญของการเกิดโรคภาวะหัวใจวาย
- มีโรคประจำตัวเช่น เบาหวาน /ความดัน /ไขมันในเลือดสูง
- มีภาวะอ้วน
- ชอบรับประทานอาหารหวาน มัน
- ขาดการออกกำลังกาย
- สูบบุหรี่
- มีภาวะเครียด
อาการที่สำคัญ คือเจ็บหน้าอก ลักษณะเหมือนถูกของหนักทับกลางอก ปวดร้าวบริเวณกราม หรือแขนด้านซ้าย เหงื่อออกมาก ใจสั่น แต่ในบางกรณี เช่น ในผู้หญิง , คนสูงอายุ , หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน อาจมีอาการไม่จำเพาะ เช่น เหนื่อยหายใจไม่ออก เจ็บหน้าอกลักษณะอื่น เจ็บบริเวณลิ้นปี่ หรือวูบหมดสติ เพราะฉะนั้นหากมีอาการเจ็บหน้าอก หรือมีอาการต่างๆดังกล่าว ควรรีบมาพบแพทย์โดยทันที
การรักษาที่สำคัญที่สุด คือการตรวจวินิจฉัยและเริ่มการรักษาให้เร็วที่สุด เพื่อเปิดหลอดเลือดหัวใจที่มีการตีบหรือตัน โดยแพทย์จะให้ยากลุ่มต้านเกล็ดเลือด และสวนหัวใจ โดยฉีดสีหลอดเลือดหัวใจหาจุดที่อุดตัน ทำบอลลูนขยายหลอดเลือด และใส่ขดลวดค้ำยันบริเวณที่ตีบ หากไม่สามารถสวนหัวใจได้ในระยะเวลารวดเร็ว จะมีทางเลือกในการรักษา โดยให้ยาละลายลิ่มเลือด
การป้องกัน ที่ดีที่สุด ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เริ่มตั้งแต่รับประทานอาหาร โดยหลีกเลี่ยงกลุ่มอาหารมัน โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว เช่นไขมันสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่นการเดินเร็ว , วิ่งจ๊อกกิ้ง ,ปันจักรยาน หรือ ว่ายน้ำ 150-300 นาทีต่อสัปดาห์ แนะนำออกกำลังกาย วันละ 30-45 นาที 5 ครั้งต่อสัปดาห์ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำสมาธิและหลีกเลี่ยงภาวะเครียด หากเป็นคนสูบบุหรี่ ควรงดการสูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้ควรตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ1ครั้ง เพื่อหาโรคต่างๆที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่นการตรวจน้ำตาลในเลือด , ตรวจค่าทำงานของไต , ตรวจไขมันในเลือด , ตรวจคัดกรองความดันโลหิต และหากสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตชนิดแฝง ควรใช้เครื่องวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง หรือใช้เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ24ชั่วโมง จะสามารถตรวจหาโรคความดันโลหิตสูงได้ดียิ่งขึ้น
เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ 24 ชั่วโมงช่วยในเรื่องใด
เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ 24 ชั่วโมง สามารถบอกค่าความดันโลหิตได้ทั้งในกลางวันและกลางคืน
ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง ได้อย่างแม่นยำ จะมีประโยชน์ ในคนที่มีความดันโลหิตสูงชนิดแฝง เช่น เมื่อวัดความดันที่โรงพยาบาล มีความดันโลหิตตัวบนที่ 130 ถึง 139 มิลลิเมตรปรอท แต่ตรวจพบความเสื่อมของอวัยวะต่างๆจากความดันโลหิตสูง เช่น มีหัวใจโต , หัวใจเต้นผิดจังหวะ , โรคจอประสาทตาจากความดันโลหิตสูง หรือมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ มีประโยชน์ในผู้ที่มีความดันโลหิตแตกต่างกันมากระหว่าง การวัดที่บ้านและโรงพยาบาล เครื่องนี้จะสามารถช่วยในการวินิจฉัยได้ นอกจากนี้ การที่จะทราบความดันในภาวะต่างๆ ยังช่วยให้แพทย์ปรับเปลี่ยนการรักษา ปรับยาและพฤติกรรม ให้เหมาะสมกับความดันโลหิตคนไข้ในแต่ละคน และช่วยประเมินการเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และ โรคหลอดเลือดสมองได้ในอนาคต
โรคหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เป็นโรคที่มีอันตรายและ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกๆคน เพราะฉะนั้นหาก มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือมีอาการที่สงสัยดังกล่าว ควรรีบมาพบแพทย์ทันที เผื่อได้รับการรักษาที่เร่งด่วน
บทความโดย นายแพทย์ ศุภวุฒิ โชติแสน แพทย์ผู้ชำนาญการด้าน อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
แพ็กเกจแนะนำ
HEALTHY CHRISTMAS ควงคู่สุขภาพดีข้ามปีด้วย โปรแกรมตรวจสุขภาพ 1 แถม 1
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพประจำปี 2568
กิจกรรมคลอดคุณแม่คุณภาพ ประจำปี 2568
บริการทันตกรรมสิทธิ์ประกันสังคม (ไม่ต้องสำรองจ่าย)
แพ็กเกจตรวจสุขภาพ Platinum Plus Check up 2568
แพ็กเกจตรวจสุขภาพ Platinum Check up 2568
แพ็กเกจตรวจสุขภาพ Diamond Plus Check up 2568
แพ็กเกจตรวจสุขภาพ Diamond Check up 2568
แพ็กเกจตรวจสุขภาพ Gold Check up 2568
แพ็กเกจตรวจสุขภาพ Silver Check up 2568
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันไวรัส RSV สำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
แพ็กเกจ ตรวจการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ 23 สายพันธุ์
แพ็กเกจ ตรวจหัวใจ คนไทยและต่างชาติ
แพ็กเกจ ตรวจการนอนกรน Sleep Test
แพ็กเกจ ตรวจ อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง Abdomen Ultrasound
แพ็กเกจ ตรวจระดับวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ
แพ็กเกจ ตรวจระดับวิตามิน D
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพ Birthday Privileges
แพ็กเกจตรวจ Covid-19 และไข้หวัดใหญ่ แบบ RT-PCR
แพ็กเกจ อัลตร้าซาวด์ครรภ์ MFM
บทความสุขภาพอื่นๆ
พฤติกรรมแบบไหน เสี่ยงโรคไตถามหา?
ภาวะตัวเหลืองในทารก
มะเร็งที่พบบ่อย ในคนไทย
การ ตรวจสุขภาพประจำปี ดีอย่างไร?
โรต้าไวรัส ภัยร้ายใกล้ตัวเด็กที่ต้องเฝ้าระวัง
กระดูกสันหลังเสื่อมทรุด ส่งผลร้ายต่อกันดำเนินชีวิต
วัคซีนสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ที่ควรฉีด (ผู้สูงอายุคือบุคคลที่มีอายุ >65ปีขึ้นไป)
รู้จัก โรค RSV ภัยร้าย ที่ผู้สูงอายุไม่ควรมองข้าม
9 โรค พบบ่อยในผู้สูงอายุ ที่ควรรู้ เพื่อป้องกันไว้ก่อนดีกว่าแก้
“ก้มเล่นมือถือ” เป็นเวลานาน พฤติกรรมเสี่ยงกระดูกคอเสื่อม
โรคไข้หวัดใหญ่คืออะไร?
การสวนหัวใจและหลอดเลือด
คลอดธรรมชาติ กับ ผ่าคลอด แบบไหนดีกว่ากัน ?
การตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery calcium scoring) คืออะไร ?
มวลกระดูกคืออะไร ทำไมต้องตรวจ ?
โรคฝีดาษลิง หรือ Mpox โรคอุบัติใหม่ที่ไม่ควรมองข้าม
ตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีสำคัญอย่างไร
พฤติกรรมแบบไหน…เสี่ยง! เป็นโรคตับ
“โรคอ้วนในเด็ก” ความน่ารักที่แฝงด้วยอันตราย‼
มะเร็งปอดใกล้ตัวกว่าที่คิด มาทำความรู้จักกับโรคมะเร็งปอด
VDO ความรู้สุขภาพ
ความแตกต่างของ hMPV และ RSV
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – EP.20 โฟลิก สารอาหารที่สำคัญสำหรับคนท้อง
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.19 อาการปวดหัวช่วงตั้งครรภ์…แก้อย่างไรดี?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.18 ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้มั้ย?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.17 ลูกในครรภ์น้ำหนักตกเกณฑ์ กังวลมากเลย
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.16 คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องผูกมาก แก้ยังไงดี?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.15 ใครเสี่ยงบ้าง? ภาวะครรภ์เป็นพิษขณะตั้งครรภ์
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.14 ฟิต&เฟิร์ม สไตล์คุณแม่มือใหม่
คำแนะนำสำหรับการให้นมแม่ในทารกที่ได้รับการวินิจฉัย “แพ้” นมวัว
การผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่า ข้อไหล่ ดีอย่างไร?
การตรวจวิเคราะห์แรงกดใต้ฝ่าเท้า คืออะไร?
ดูแลลูกอย่างไร? เมื่อเป็นไข้หวัดหน้าร้อน
ฉีดสีท่อนำไข่ แก้ปัญหามีบุตรยาก มีขั้นตอนและการเตรียมตัวอย่างไร?
กระดูกสันหลังเสื่อม-ทรุด ส่งผลร้ายต่อการดำเนินชีวิต
งูสวัด ลดความรุนแรงและโอกาสเกิดซ้ำได้ ด้วยการฉีดวัคซีน
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.13 ไอโอดีน สำคัญกับหญิงตั้งครรภ์อย่างไร?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.12 เครื่องฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ จำเป็นไหม?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.11 วัคซีนก่อนตั้งครรภ์สำคัญไม่น้อย
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.10 ตั้งใจมีลูกแฝด ดีหรือไม่?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ – Ep.9 ทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์ถึงชอบท้องผูก
บทความโดย
นายแพทย์ ศุภวุฒิ โชติแสน
แพทย์ผู้ชำนาญการด้าน อายุรแพทย์โรคหัวใจ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
แผนกอายุรกรรมโรคหัวใจ ชั้น 2
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
โทร.02-594-0020 ต่อ 1248